วันพุธที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2555

สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า

http://www.blogger.com/blogger.g?blogID=450725356563456430#editor/target=post;postID=7858545345756236210


http://www.youtube.com/watch?v=-9iaHQpSGok&feature=relmfu


http://www.youtube.com/watch?v=7DcKQFL0M-A&feature=relmfu


http://www.youtube.com/watch?v=hD7inn21Xkk&feature=relmfu


http://www.youtube.com/watch?v=yUdkLxLpN14


http://www.youtube.com/watch?v=4jd0MOuATc0&feature=relmfu


http://www.youtube.com/watch?v=R6EmakR8ONU&feature=relmfu


http://www.youtube.com/watch?v=38b_yaMFHAM&feature=relmfu


http://www.youtube.com/watch?v=yweCEb41zGM&feature=relmfu


http://www.youtube.com/watch?v=gN3RDrVQ9RU&feature=relmfu


http://www.youtube.com/watch?v=ktWbLROrafM&feature=relmfu

พระนางเรือล่ม

http://www.youtube.com/watch?v=mUUkuwsdZr8&feature=related

แรงงานไพร่ทาสในสังคมศักดินา

http://www.youtube.com/watch?v=LktusYbP4mA&feature=related

ประวัติศาสตร์ไทย

http://www.youtube.com/watch?v=wC4D3V3QWYA http://www.youtube.com/watch?v=KZ7-PBEbstA&feature=related

นวนิยาย มาลัยสามชาย

เป็นการประชัน บทบาทครั้งสำคัญของ พิยดา จุฑารัตนกุล, ภูธเนศ หงษ์มานพ, สหรัถ สังคปรีชา, อรจิรา แหลมวิไล, สน ส่งไพศาล ในละครชีวิตเรื่องยิ่งใหญ่ พร้อมด้วยนักแสดงมากฝีมืออีกมากมาย อาทิ จารุณี สุขสวัสดิ์, ศศิกานต์ อภิชาติวรศิลป์, กาญจนา จินดาวัฒน์, รัญญา ศิยานนท์, พงษ์สิรี บรรลือวงศ์, ธิตินันท์ สุวรรณศักดิ์, รุ่งเรือง อนันตยะและนักแสดงสมทบอีกคับคั่งในละคร มาลัยสามชาย ทางช่อง 5 เรื่องย่อละคร มาลัยสามชาย เรื่องราวชีวิตของ ลอออร (พิยดา จุฑารัตนกุล) สตรีผู้มีความดีและความงาม บริสุทธิ์ดุจมาลัย แต่โชคชะตานำพาให้ต้องผ่านการมีคู่ครองถึงสามครั้ง กับชายที่มีคุณลักษณะแตกต่างกันถึงสามชาย ชายคนแรกคือ ยศ พลาธร (ภูธเนศ หงษ์มานพ) หนุ่มเจ้าสำราญที่เป็นรักแรกของลอออร เขาคือชายที่สอนให้เธอได้รู้จักกับด้านที่เลวร้ายของความรัก ชายคนที่สองคือ เทพ ราชศักดิ์ (สหรัถ สังคปรีชา) นายทหารผู้แข็งแกร่งและมั่นคง เขาเป็นเสมือนร่มโพธิร่มไทรให้เธอได้พักพิงได้ไม่นานเขาก็ถูกพรากจากไป และต่อมาเธอก็ได้พบกับ เจ้าดิเรกรุจ (สน ส่งไพศาล) ชายคนที่สาม นายแพทย์หนุ่มรูปงามที่เสมือนน้ำทิพย์ชุบชีวิตของลอออรให้ฟื้นกลับคืนขึ้นมา ใหม่อีกครั้ง
ตลอดเวลาถึงแม้จะผ่านมาถึงสามชาย ลอออรก็เป็นที่รักเป็นที่ยกย่องเชิดชูของทุกผู้คนที่ได้รู้จัก เพราะความดีและกรอบประเพณีที่ดีงามที่เธอยึดมั่นเอาไว้ในใจ ต่างจาก ทองไพรำ (อรจิรา แหลมวิไล) สาวน้อยจาก ซ่องยี่สุ่นเหลือง เธอใช้ความสวยล่อลวงให้ผู้ชายมาหลงใหล ไม่ใช่เพียงครอบครัวของยศและลอออรที่ต้องพินาศเพราะเสน่ห์ของทองไพรำ แต่กิเลศและความทะยานอยากของทองไพรำ แผดเผาทำลายชีวิตของผู้ชายทุกคนที่อยู่ใกล้ ๆ คะนอง (ภูริ หิรัญพฤกษ์) บ่าวคนสนิทของยศ ยอมทรยศเจ้านายผู้มีพระคุณเพื่อเธอ แต่สุดท้ายก็ต้องตายด้วยมือของ ใบ (อาณัตพล ศิริชุมแสง) คนฝึกม้าของยศชู้อีกคนของทองไพรำ นรินทร์ (วิทวัส สิงห์ลำพอง) ชายหนุ่มผู้อ่อนไหว บุตรชายของ เจ้าคุณนราภิบาล (จักรกฤษณ์ อำมรัตน์) ก็ถูกดึงให้เข้ามาพัวพันในวังวนแห่งเสน่ห์นี้ จนเกิดโศกนาฏกรรมที่ผลาญชีวิตทั้งพ่อและลูกไปอย่างน่าสลดใจ แม้ลอออร กับทองไพรำจะแตกต่างกันเหมือนน้ำกับไฟ แต่โชคชะตาก็เล่นตลกให้ทั้งสองต้องเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันในทุกช่วงของชีวิต โลกอันสงบร่มเย็นของลอออรต้องล่มสลาย เพราะไฟแห่งกิเลสและราคะของทองไพรำที่ลุกโชนโชติช่วง
ที่มาจาก http://www.baanseries.com/thai/detail.asp?param_id=1430 , http://www.youtube.com/watch?v=3ILe6BVTH28

น้กประวัติศาสตร์ไทย

น้กประวัติศาสตร์ไทย มีทั้งหมด 24 ท่าน เป็นหลัก ไกรศรี นิมมานเหมินท์ , ขจร สุขพานิช , จิตร ภูมิศักดิ์ , ชาญวิทย์ เกษตรศิริ , ชาตรี ประกิตนนทการ , ชิน อยู่ดี , สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร กรมพระยาดำรงราชานุภาพ , ธงชัย วินิจจะกูล , นิธิ เอียวศรีวงศ์ , ประเสริฐ ณ นคร , ปรีดี พนมยงค์ , เผ่าทอง ทองเจือ , พูนพิศ อมาตยกุล , ภูวดล ทรงประเสริฐ , มนัส โอภากุล , ไมเคิล ไรท์ , ล้อม เพ็งแก้ว , ศรีศักร วัลลิโภดม , สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล , สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ , หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล , สุเนตร ชุตินธรานนท์ , อดุล วิเชียรเจริญ , เอนก นาวิกมูล ซึ่งจะยกตัวอย่างเฉพาะบางท่านเท่านั้น อย่างเช่น
ศาสตราจารย์พิเศษขจร สุขพานิช เป็นนักประวัติศาสตร์ไทยที่มีบทบาทสำคัญในช่วงทศวรรษ 2500-2510 เป็นผู้เสนอข้อมูลและการตีความประวัติศาสตร์ไทยใหม่ ๆ เช่น บทความเรื่อง "จดหมายเหตุราชวงศ์หงวน-การพิจารณาใหม่" (พ.ศ. 2514) ของท่านที่ปฏิเสธความเชื่อตามพระมติของสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพที่เสนอในพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขาว่าพ่อขุนรามคำแหงเคยเสด็จเยือนเมืองจีน ประวัติ ศาสตราจารย์ขจรเกิดเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2456 ที่ตำบลหนองแค จังหวัดสระบุรี เข้ารับการศึกษาชั้นต้นที่โรงเรียนอัสสัมชัญ แล้วได้เป็นมาสเตอร์ (Master) สอนหนังสือที่โรงเรียนดังกล่าวก่อนจบการศึกษา ต่อมาได้ไปสอนที่โรงเรียนมงฟอร์ต จังหวัดเชียงใหม่ ต่อมาได้ลาออก เข้าทำงานที่กรุงเทพฯ และศึกษาต่อที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในระดับปริญญาตรีและปริญญาโท และรับราชการอยู่ระยะหนึ่ง จึงลาออกมาประกอบอาชีพส่วนตัวจนประสบความสำเร็จอย่างงดงาม จึงได้รับเลือกตั้งเป็นนายกสมาคมพ่อค้าไทยหลายสมัย ในช่วงครึ่งหลังของชีวิตได้สนใจศึกษาประวัติศาสตร์ไทยอย่างจริงจัง เดินทางไปหาความรู้เพิ่มเติมที่วิทยาลัยตะวันออกและแอฟริกาศึกษา (School of Oriental and African Studies) มหาวิทยาลัยลอนดอน (University of London) และมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด (Harvard University) โดยแสวงหาหลักฐานเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ไทย เขียนบทความ ทำการสอน บรรยายพิเศษ และให้คำปรึกษาแก่นิสิตนักศึกษาทั้งชาวไทยและต่างประเทศ ศาสตราจารย์ขจรได้รับปริญญาอักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิตจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยใน พ.ศ. 2514 และวิทยาลัยวิชาการศึกษา (มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒในปัจจุบัน) ได้เสนอแต่งตั้งให้เป็นศาสตราจารย์พิเศษในคณะมนุษยธรรมศึกษาและสังคมศาสตร์เมื่อ พ.ศ. 2516 ศาสตราจารย์ขจรถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2521 อย่างกะทันหัน มีพิธีพระราชทานเพลิงศพในวันที่ 29 เมษายน ปีเดียวกัน ซึ่งก่อนถึงแก่กรรมท่านได้ทำพินัยกรรมมอบหนังสือส่วนตัวที่มีจำนวนและคุณค่ามหาศาลแก่หอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ จึงมีการตั้งชื่อห้องหนังสือดังกล่าวเพื่อเป็นเกียรติแก่ท่านว่าห้องขจร สุขพานิช ตั้งอยู่ที่ชั้น 6 อาคารหอสมุดกลาง ผลงานทางวิชาการ การต่างประเทศในแผ่นดินพระเอกาทศรฐ (พ.ศ. 2504) ,ฐานันดรไพร่ (พ.ศ. 2505) ,ออกญาวิไชเยนทร์ และการต่างประเทศในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ (พ.ศ. 2506) ,ก้าวแรกของหนังสือพิมพ์ในประเทศไทย (พ.ศ. 2508) ,กรุงยโสธร-นครธมในประวัติศาสตร์ไทย : คัดจากแถลงผลงานประวัติศาสตร์ เอกสารโบราณคดี ปีที่ 1 เล่ม 2 พฤษภาคม 2510 (พ.ศ. 2510) ,รวมการบรรยายเรื่องตัวอักษรไทย (พ.ศ. 2512) ,ไพร่ฟ้าข้าไทย และ จดหมายเหตุราชวงศ์หงวน-การพิจารณาใหม่ (พ.ศ. 2514) ,ข้อมูลประวัติศาสตร์ : สมัยบางกอก (พ.ศ. 2518) ,ข้อมูลประวัติศาสตร์ก่อนราชวงศ์พระร่วง ; ใครเป็นผู้แต่งพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา (พ.ศ. 2520) ,คำบรรยายประวัติศาสตร์ไทย พ.ศ. 1600-2130 (พ.ศ. 2521) ,ปัญหาประวัติศาสตร์และโบราณคดีไทย (พ.ศ. 2525) ,ถิ่นกำเนิดและแนวอพยพของเผ่าไทย (ม.ป.ป.) นอกจากนี้ ยังเป็นที่ปรึกษาและกรรมการวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโทสาขาวิชาประวัติศาสตร์ของวิทยาลัยวิชาการศึกษา (มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒในปัจจุบัน) เช่น เรื่อง นโยบายการจัดการศึกษาของไทยในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. 2512) ของ วุฒิชัย มูลศิลป์, ความสัมพันธ์ระหว่างไทยเขมรและญวนในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น (พ.ศ. 2514) ของ ถนอม อานามวัฒน์, พระบรมราโชบายเกี่ยวกับปัญหาชาวจีนในพระราชอาณาเขตรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. 2516) ของ พวงร้อย กล่อมเอี้ยง, ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยกับประเทศฝรั่งเศสตั้งแต่ ร.ศ. 112 ถึง ร.ศ. 126 (ค.ศ. 1893-1907) (พ.ศ. 2518) ของ สุวิทย์ ธีรศาศวัต, และ ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับฝรั่งเศสสมัยอยุธยาในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์ถึงรัชกาลสมเด็จพระเพทราชา (พ.ศ. 2199-2246) ของ พลับพลึง คงชนะ เป็นต้น ซึ่งบุคคลเหล่านี้ต่อมาก็ได้มีบทบาทในวงวิชาการประวัติศาสตร์ไทยต่อมา ซึ่งส่วนหนึ่งก็รับราชการในตำแหน่งอาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒด้วย
จิตร ภูมิศักดิ์ (25 กันยายน พ.ศ. 2473 — 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2509) เป็นนักคิดด้านการเมือง นักประวัติศาสตร์ และนักภาษาศาสตร์ นับเป็นนักปราชญ์และนักปฏิวัติทางความคิดและวิชาการคนสำคัญของประเทศไทย จิตรเป็นนักวิชาการคนแรกๆ ที่กล้าถกเถียงและคัดค้านปราชญ์คนสำคัญ ด้วยวิธีคิดที่มีเหตุผลและลุ่มลึก มีความโดดเด่นจากผลงานการค้นคว้าทางวิชาการที่แปลกใหม่และลึกซึ้ง ขณะเดียวกันจิตรยังมีความคิดต่อต้านระบบเผด็จการและการใช้อำนาจกดขี่ของชนชั้นสูงมาโดยตลอด จิตรเป็นบุตรของ นายศิริ ภูมิศักดิ์ และนางแสงเงิน ภูมิศักดิ์ มีชื่อเดิมว่า สมจิตร ภูมิศักดิ์ แต่ต่อมาเปลี่ยนเป็น จิตร เพียงคำเดียว ตามนโยบายตั้งชื่อให้ระบุเพศชายหญิงอย่างชัดเจน ของ จอมพล ป. พิบูลสงคราม จิตรเสียชีวิตในปี พ.ศ. 2509 หลังเข้าร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย โดยถูกอาสาสมัครและทหารล้อมยิง การศึกษา พ.ศ. 2479 จิตรติดตามบิดา ซึ่งรับราชการเป็นนายตรวจสรรพสามิต เดินทางไปรับราชการยังจังหวัดกาญจนบุรี และเข้ารับการศึกษาชั้นประถม ที่โรงเรียนประจำจังหวัดแห่งนั้น จิตรย้ายมาอยู่ที่สมุทรปราการ เมื่อปี พ.ศ. 2482 บิดาของจิตรย้ายไปรับราชการในเมืองพระตะบอง ซึ่งสมัยนั้นเป็นเมืองในการปกครองของไทย (ปัจจุบันอยู่ในอาณาเขตของกัมพูชา) จิตรจึงย้ายตามไปด้วย และได้เข้าศึกษาชั้นมัธยมที่นั่น พ.ศ. 2490 ประเทศไทย ต้องคืนดินแดนเมืองพระตะบองให้กัมพูชา จิตรจึงอพยพตามมารดากลับเมืองไทย ส่วนบิดานั้นไปเริ่มชีวิตครอบครัวใหม่กับหญิงอื่นๆ ระหว่างที่ครอบครัวภูมิศักดิ์ ยังอยู่ที่พระตะบอง นางแสงเงินเดินทางไปค้าขายที่จังหวัดลพบุรี ขณะที่จิตรและพี่สาว เดินทางมาศึกษาต่อในกรุงเทพมหานคร โดยจิตรเข้าเรียนที่โรงเรียนเบญจมบพิตรหรือโรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตรในปัจจุบัน และสอบเข้าโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา และคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในที่สุด แนวคิดและการต่อสู้ ชื่อเสียงของ จิตร ภูมิศักด์ น่าจะโด่งดังในสาธารณชนวงกว้างเป็นครั้งแรก จากกรณี โยนบก เมื่อครั้งที่เขาเป็นสาราณียากร ให้กับหนังสือประจำปี ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปี พ.ศ. 2496 ในครั้งนั้นเขาได้เปลี่ยนแปลงเนื้อหาที่ "ซ้ำ ๆ ซาก ๆ" ของหนังสือประจำปี โดยลงบทความสะท้อนปัญหาสังคม ประณามผู้เอารัดเอาเปรียบในสังคม ซึ่งรวมถึงรัฐบาลด้วย รวมทั้งชี้ให้เห็นค่านิยมอันไม่ถูกต้อง ซึ่งผู้คนนับถือกันมานาน โดยบทความเหล่านั้น มีทั้งที่จิตรเขียนเอง ร่วมแก้ไข หรือเพื่อน ๆ คนอื่นเขียน ผลก็คือระหว่างการพิมพ์หนังสือได้ถูกตำรวจสันติบาลอายัด และมีการ "สอบสวน" จิตรที่หอประชุมใหญ่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในเหตุการณ์นั้น จิตรถูกกลุ่มนิสิตที่นำโดยนายสีหเดช บุนนาค คณะวิศวกรรมศาสตร์ตั้งศาลเตี้ยจับ "โยนบก" ลงจากเวทีหอประชุม ทำให้จิตรได้รับบาดเจ็บต้องเข้าโรงพยาบาลและพักรักษาตัวอยู่หลายวัน ต่อมาทางมหาวิทยาลัยได้ตั้งคณะกรรมการพิจารณาโทษและมีมติให้จิตร ภูมิศักดิ์ถูกพักการเรียนเป็นเวลา 1 ปี คือในปี พ.ศ. 2497 ระหว่างถูกพักการเรียน จิตรได้ไปสอนวิชาภาษาไทยที่โรงเรียนอินทร์ศึกษา แต่สอนได้ไม่นาน ก็ถูกไล่ออกไป เนื่องจากถูกกล่าวหาว่ามีหัวก้าวหน้ามากเกินไป จิตรจึงไปทำงานกับหนังสือพิมพ์ไทยใหม่ ในช่วงเวลาดังกล่าวนี้เอง ที่จิตรได้สร้างสรรค์ผลงานการวิจารณ์ที่มีคุณค่าต่อวงวิชาการไทยหลายเรื่อง เช่น การวิจารณ์วรรณศิลป์ วิจารณ์หนังสือ วิจารณ์ภาพยนตร์ โดยใช้นามปากกา "บุ๊คแมน" และ "มูฟวี่แมน" ปี พ.ศ. 2498 เขากลับเข้าเรียนอีกครั้งและสำเร็จปริญญาอักษรศาสตร์บัณฑิตในปี พ.ศ. 2500 จากนั้นก็เข้าเป็นอาจารย์ที่วิทยาลัยเพชรบุรีวิทยาลงกรณ์และศึกษาต่อระดับปริญญาโทที่วิทยาลัยวิชาการศึกษาประสานมิตร จนกระทั่งถูกจับในข้อหา "สมคบกันกระทำความผิดต่อความมั่นคงของรัฐภายใน และภายนอกราชอาณาจักรและกระทำการเป็นคอมมิวนิสต์" เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2501 เขาถูกคุมขังอยู่จนถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2507 จึงได้รับการปลดปล่อยและพ้นจากข้อหาของทางการ เนื่องจากเขาถูกติดตามคุกคามจากทางการและเจ้าหน้าที่บ้านเมืองอย่างหนักทำให้เดือนตุลาคม พ.ศ. 2508 จิตรได้เดินทางสู่ชนบทภาคอีสาน เพื่อเข้าร่วมต่อสู้กับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พคท.) ในนาม สหายปรีชา ต่อมาถูกอดีตกำนันตำบลคำบ่อ อาสาสมัคร และทหาร ล้อมยิงจนเสียชีวิต ตายด้วยกระสุนปืนที่ทุ่งนากลางป่าละเมาะ บ้านหนองกุง ตำบลคำบ่อ อำเภอวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2509[1] ผลงาน จิตรมีความสามารถในด้านภาษาศาสตร์และนิรุกติศาสตร์อย่างมาก และยังมีความสามารถระดับสูงในด้านอื่น ๆ เช่น ประวัติศาสตร์ ถือว่าเป็นอัจฉริยะบุคคลของไทยคนหนึ่ง ในด้านภาษาศาสตร์นั้น จิตรมีความเชี่ยวชาญในภาษาฝรั่งเศส ภาษาบาลี ภาษาสันสกฤต ภาษาเขมร โดยเฉพาะภาษาเขมรนั้น จิตรมีความเชี่ยวชาญทั้งภาษาเขมรปัจจุบันและภาษาเขมรโบราณด้วย นอกจากนี้ จิตรได้เขียนพจนานุกรมภาษาละหุ (มูเซอ) โดยเรียนรู้กับชาวมูเซอขณะอยู่ในคุกลาดยาว ในตอนแรก ชาวมูเซอไม่สามารถพูดภาษาไทยได้ จิตรเองก็ไม่สามารถพูดภาษามูเซอได้เช่นกัน แต่ด้วยความสามารถ เขาสามารถเรียนรู้ระบบของภาษา และนำมาใช้ได้อย่างน่าอัศจรรย์ งานเขียนชิ้นเด่น หนังสือ "ความเป็นมาของคำสยาม ไทย, ลาว และขอม และลักษณะทางสังคมของชื่อชนชาติ", 2519* ,หนังสือ "ข้อเท็จจริงว่าด้วยชนชาติขอม" (ต่อมาพิมพ์รวมเล่มกับ "ความเป็นมาของคำสยาม ไทย, ลาว และ ขอม และลักษณะทางสังคมของชื่อชนชาติ" เป็น "ความเป็นมาของคำสยาม ไทย, ลาว และ ขอม และลักษณะทางสังคมของชื่อชนชาติ ฉบับสมบูรณ์") ,หนังสือ "โฉมหน้าศักดินาไทย"* ,หนังสือ "ภาษาและนิรุกติศาสตร์" ,หนังสือ "ศัพท์สันนิษฐานและอักษรวินิจฉัย", 2548 ,หนังสือ "โองการแช่งน้ำ และ ข้อคิดใหม่ในประวัติศาสตร์ไทยลุ่มน้ำเจ้าพระยา", 2524 ,หนังสือ "สังคมไทยลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาก่อนสมัยศรีอยุธยา", 2526 ,หนังสือ "ตำนานแห่งนครวัด" ,เพลง "ภูพานปฏิวัติ" ,เพลง "แสงดาวแห่งศรัทธา" ,บทกวี "เธอคือหญิงรับจ้างแท้ใช่แม่คน" ,บทกวี "อะไรแน่ ศาสนา ข้าสงสัย" ,บทกวีของจิตร ภูมิศักดิ์* ผลงานที่มี * ข้างท้าย หมายถึงถูกคัดเลือกให้อยู่ใน หนังสือดี 100 เล่มที่คนไทยควรอ่าน นามปากกา นามปากกาของจิตรมีเป็นจำนวนมาก เช่น นาคราช1, ศูลภูวดล1, ศรีนาคร, ทีปกร, สมสมัย ศรีศูทรพรรณ1, ศิลป์ พิทักษ์ชน, สมชาย ปรีชาเจริญ, สุธรรม บุญรุ่ง, ขวัญนรา, สิทธิ ศรีสยาม1, กวีการเมือง, กวี ศรีสยาม, บุคแมน, มูฟวี่แมน (มูวี่แมน) , ศิริศิลป์ อุดมทรรศน์1, จักร ภูมิสิทธิ์2 หมายเหตุ: 1 หมายถึง ใช้เพียงครั้งเดียว, 2 เป็นคำผวนของชื่อ จิตร ภูมิศักดิ์
ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ (6 พฤษภาคม พ.ศ. 2484 — ) อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้สนใจศึกษาค้นคว้าประวัติศาสตร์การเมืองไทยและประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวกับเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 และ 6 ตุลา 2519 เคยเป็นอาจารย์ประจำคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปัจจุบันเกษียณอายุราชการแล้ว ประวัติ ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ เกิดเมื่อวันอังคารที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2484 ที่บ้านห้องแถว ถนนทรงพล อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี เกิดและเติบโตจากครอบครัวชนชั้นกลาง คุณพ่อชื่อ เชิญ (เปลี่ยนนามสกุลเดิมจาก "แก่นแก้ว" เป็น "เกษตรศิริ") จบการศึกษาชั้นมัธยม 8 จากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย คุณพ่อรับราชการเป็นเทศมนตรี อำเภอบ้านโป่ง และทำการค้าขายมี "ร้านขายปืนบ้านโป่ง" คุณแม่ชื่อ ฉวีรัตน์ (สกุลเดิม "เอี่ยมโอภาส") จบการศึกษาจากโรงเรียนพยาบาลจุฬาลงกรณ์ มีอาชีพเป็นพยาบาลและผดุงครรภ์ เมื่อ ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ อายุได้เพียง 7 เดือน เกิดเหตุการณ์กองทัพญี่ปุ่นบุกไทย (8 ธันวาคม 2484) และใช้บริเวณสถานีรถไฟหนองปลาดุก ซึ่งใกล้กับอำเภอบ้านโป่ง เป็นที่ตั้งค่ายทหารญี่ปุ่นเพื่อควบคุมการสร้างทางรถไฟสายมรณะ จนก่อให้เกิด "เหตุการณ์บ้านโป่ง" ภายหลังเหตุการณ์ดังกล่าว และเมื่อถึงช่วงปรายสงคราม ซึ่งเครื่องบินฝ่ายสัมพันธมิตรทิ้งระเบิดอย่างหนักที่หนองปลาดุก คุณแม่ฉวีรัตน์ จึงได้พา ดร.ชาญวิทย์ (อายุ 3 ขวบ) หนีหลบภัยสงครามไปยังบ้านญาติในคลองบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ เริ่มเรียน ก ไก่ ข ไข่ จากโรงเรียนเฉลิมวิทยา ที่วัดกลางปากน้ำ จังหวัดสมุทรปรากการ ซึ่งคุณตาคุณยายเป็นเจ้าของโรงเรียน จากนั้นกลับมาเรียนที่บ้านโป่งอีกครั้ง โดยเข้าศึกษาต่อระดับประถม 3 - 4 และมัธยมศึกษาปีที่ 1 - 3 (ระหว่าง พ.ศ. 2493 - 2497 เป็นเวลา 5 ปี) ที่โรงเรียนสารสิทธิ์พิทยาลัย ซึ่งเป็นโรงเรียนในเครือคณะนักบวชซาเลเซียน โดยเป็นโรงเรียนเดียวกับที่ ธนินท์ เจียรวนนท์ มหาเศรษฐีอันดับ1ของไทยเคยเข้าศึกษา เมื่อปี พ.ศ. 2492 เมื่ออายุ 14 ปี พ.ศ. 2498 ดร.ชาญวิทย์เดินทางเข้ามาเรียนที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 - 8 จากนั้นสอบเข้าเรียนคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (แผนกการทูต) โดยมีผลการเรียนดีจนได้รับเกียรตินิยมดี และได้รับรางวัลภูมิพล ในปี พ.ศ. 2506 จากนั้นเดินทางไปศึกษาต่อที่ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยได้รับทุน Rockefeller Foundation ผ่านภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ ไปเรียนในระดับปริญญาโททางการทูตที่ Occidental College รัฐแคลิฟอร์เนีย เป็นเวลา 2 ปี (พ.ศ. 2508 - 2510) จากนั้นให้เรียนต่อระดับปริญญาเอก ด้านประวัติศาสตร์อุษาคเนย์ ที่มหาวิทยาลัยคอร์แนล รัฐนิวยอร์ก เป็นเวลา 5 ปี (พ.ศ. 2510 - 2515) โดยเขียนวิทยานิพนธ์ปริญญาเอก เรื่อง The Rise of Ayudhaya การเป็นนักเรียนนอกในยุค 60s ถือเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญในวิธีคิดและการมองโลกของ ดร. ชาญวิทย์ ซึ่งที่ประเทศสหรัฐอเมริกาในขณะนั้นเป็นยุคที่เกิดกระแส "ซ้ายใหม่" หรือ New Left ในกลุ่มคนหนุ่มสาวในสหรัฐฯ ที่กบฏต่อทุกอย่างที่เป็นจารีตดั้งเดิม โดยการทุ่มเทชีวิตให้กับการชุมนุนประท้วง ในเรื่องต่างๆ อาทิเช่น สงครามเวียดนาม การแต่งกาย ฯลฯ จนเกิดเป็นค่านิยม Hippies หรือบุปผาชน ประสบการณ์ชีวิตช่วงนี้ส่งผลให้ ดร.ชาญวิทย์ เกิดจิตวิญญาณที่อิสระเสรี และเกิดจิตสำนึกที่จะเรียนรู้และขุดคุ้ยแสวงหาความจริงความถูกต้อง ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญในการเป็นนักประวัติศาสตร์ของ ดร.ชาญวิทย์ ในเวลาต่อมา และจากประสบการณ์นี้เองส่งผลให้ ดร.ชาญวิทย์ ผลิตผลงานต่างๆที่ก้าวทันโลกและรักษ์รากเหง้า ด้วยความกล้าหาญทางจริยธรรม เพื่อการต่อสู้ เพื่อความถูกต้อง ความเป็นธรรม และความเสมอภาคในสังคม และในขอบเขตเหนือความเป็นรัฐประชาชาติ ด้วยความมุ่งหวังให้สาธารณะชนทั่วไปสามารถเข้าถึงและมีส่วนในกระบวนการเรียนรู้ด้วย จนบางคนเรียก ดร.ชาญวิทย์ว่า "ปัญญาชนสาธารณะ" การศึกษา ประถมศึกษา โรงเรียนเฉลิมวิทยา สมุทรปราการ มัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนสารสิทธิ์พิทยาลัย ราชบุรี มัธยมศึกษาตอนปลายและเตรียมอุดมศึกษา โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ปริญญาตรี รัฐศาสตร์ สาขาการทูต (เกียรตินิยมดี-รางวัลภูมิพล) คณะรัฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปริญญาโท สาขา Diplomacy and World Affairs จาก วิทยาลัยออกซิเดนทอล วิทยาลัยเอกชนขนาดเล็กในเมือง ลอสแอนเจลิส สหรัฐอเมริกา พ.ศ. 2510 ปริญญาเอก ประวัติศาสตร์อุษาคเนย์ มหาวิทยาลัยคอร์แนล นิวยอร์ก พ.ศ. 2515 การทำงาน เริ่มรับราชการเป็นอาจารย์ประจำสาขาวิชาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ตั้งแต่ พ.ศ. 2516 ,รองอธิการบดีฝ่ายวิชาพื้นฐานสมัยนายป๋วย อึ๊งภากรณ์ เป็นอธิการบดี พ.ศ. 2518 - พ.ศ. 2519 ,หัวหน้าสาขาวิชาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ พ.ศ. 2524 - 2526 ,รองผู้อำนวยการและกรรมการสถาบันไทยคดีศึกษา พ.ศ. 2525 - 2528 ,รองอธิการบดี (ฝ่ายธรรมศาสตร์ 50 ปี) และกรรมการสภามหาวิทยาลัย สมัยคุณหญิงนงเยาว์ ชัยเสรี เป็นอธิการบดี พ.ศ. 2526 - 2529 ,รองอธิการบดีฝ่ายการนักศึกษา พ.ศ. 2529 - 2531 ,คณบดีคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. 2534 - 2537 ,อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มิ.ย. 2537 - 2538) ,ปัจจุบัน ประธานที่ปรึกษาโครงการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEAs) คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อื่น ๆ นักวิจัยประจำศูนย์ศึกษาตะวันออกเฉียงใต้ มหาวิทยาลัยเกียวโต (พ.ศ. 2520-2521) ,ผู้บรรยายวิชาประวัติศาสตร์อุษาคเนย์ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ (พ.ศ. 2521-2522) ,ผู้ควบคุมวิชาสัมมนาเรื่องประเทศไทย โครงการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มหาวิทยาลัยคอร์แนลล์ (พ.ศ. 2528) ,บรรณาธิการวารสารธรรมศาสตร์ (พ.ศ. 2524-2526) ,เลขานุการก่อตั้งกองทุนธรรมศาสตร์ 50 ปี (พ.ศ. 2527) ,ประธานกรรมการก่อตั้งกองทุนศิลปศาสตร์ 30 ปี (พ.ศ. 2535) ,ประธานคณะกรรมการดำเนินการจัดตั้งหอจดหมายเหตุธรรมศาสตร์ (พ.ศ. 2534-ปัจจุบัน) ,กรรมการและเลขานุการมูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ (พ.ศ. 2521-ปัจจุบัน) ,กรรมการก่อตั้งพิพิธภัณฑ์ข้าว จังหวัดสุพรรณบุรี (พ.ศ. 2533) ฯลฯ งานเขียนบางส่วน 14 ตุลา บันทึกประวัติศาสตร์, ISBN 9749144961 , 3 ทศวรรษ 14 ตุลากับประชาธิปไตยไทย, ISBN 9749248724 , การค้าสังคโลก, ISBN 5501307677 ,ความสัมพันธ์ไทย-ญี่ปุ่น 600 ปี, ISBN 9748701794 ,เจ้านโรดม สีหนุกับนโยบายความเป็นกลางของกัมพูชา, ISBN 5501354810 ,รายงานชวา สมัย ร.5, ISBN 9749171683 ,สยามพาณิชย์, ISBN 5502053415 ,บทความในนิตยสารศิลปวัฒนธรรม ,ผู้สถาปนา โครงการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ศาสตราจารย์ ดอกเตอร์ธงชัย วินิจจะกูล นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ชาวไทย เกิดและโตที่กรุงเทพ ประเทศไทย อดีตเป็นผู้นำนักศึกษาซึ่งถูกจับกุมในเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519ย้ายไปสหรัฐอเมริกาในปี พ.ศ. 2534 ปัจจุบันเป็นศาสตราจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประวัติศาสตร์ไทย ที่มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน แมดิสัน สหรัฐอเมริกา สาขาที่สนใจคือประวัติศาสตร์วัฒนธรรมและวิทยาการของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยุคต้นสมัยใหม่และสมัยใหม่ (คริสต์ศตวรรษที่ 19 และต้น 20) โดยเฉพาะการปะทะกันระหว่างสังคมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และอารยธรรมตะวันตก, ประวัติศาสตร์สยาม/ไทย โดยเฉพาะประวัติศาสตร์ของความรู้ แนวคิด และนักคิด, และการเมืองวัฒนธรรมไทยสมัยใหม่ ตั้งแต่ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ถึงปัจจุบัน, ชาตินิยม, ภูมิศาสตร์ การแผนที่ ประวัติศาสตร์ที่อันตราย ความทรงจำ และวิธีที่สังคมจัดการกับอดีตที่เป็นปัญหาเหล่านั้น[1] ธงชัยจบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาจากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ปริญญาตรีจากคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และปริญญาโทและเอกจาก มหาวิทยาลัยซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย
นิธิ เอียวศรีวงศ์ เป็นนักคิด นักเขียน และศาสตราจารย์ด้านประวัติศาสตร์ชาวไทย นิธิได้รับรางวัลนักวิจัยดีเด่น สภาวิจัยแห่งชาติ รางวัลฟูกูโอกะ และรางวัลศรีบูรพา นิธิ ได้ชื่อว่าเป็นนักประวัติศาสตร์ที่โดดเด่นที่สุดคนหนึ่ง[ใครกล่าว?]หลังจากสมัย กรมพระยาดำรงราชานุภาพ และจิตร ภูมิศักดิ์ ประวัติ เกิดเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2483 ที่กรุงเทพมหานคร ในครอบครัวคนไทยเชื้อสายจีน ซึ่งเจ้าตัวมักเรียกตัวเองว่าเป็น เจ๊กปนลาว (จ.ป.ล.) (มาจากการที่เป็นคนจีนที่เกิดในเชียงใหม่ ซึ่งเคยเป็นดินแดนของอาณาจักรล้านนาในอดีต ซึ่งมีวัฒนธรรมร่วมกับลาว) จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาที่โรงเรียนอัสสัมชัญศรีราชา และสำเร็จการศึกษาสาขาประวัติศาสตร์ ทั้งปริญญาตรี และโท จากคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ต่อมาเข้ารับราชการในตำแหน่งอาจารย์ ภาควิชาประวัติศาตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และได้ลาศึกษาต่อระดับปริญญาเอก ณ มหาวิทยาลัยมิชิแกน สหรัฐอเมริกา จนสำเร็จในปี พ.ศ. 2519 กลับมารับราชการตามเดิม จนได้รับตำแหน่งศาสตราจารย์ และเข้าโครงการลาเกษียณอายุราชการก่อนกำหนดใน พ.ศ. 2543[1] หลังจากสิ้นภาระการสอนในระบบมหาวิทยาลัยปกติ ปัจจุบัน ยังคงเป็นผู้มีส่วนสำคัญในการแสดงความคิดสู่สังคมผ่านมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ซึ่งได้บุกเบิกมาก่อนหน้านี้แล้ว และผ่านรูปแบบบทความทางหนังสือพิมพ์ นิตยสารอยู่เป็นประจำ ในการลงประชามติรับร่างธรรมนูญปี พ.ศ. 2550 ศ.ดร.นิธิ เป็นผู้หนึ่งที่ไม่เห็นด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าว การทำงานในคณะกรรมการปฏิรูปประเทศ นิธิ เอียวศรีวงศ์ ได้เข้ามารับหน้าที่เป็นคณะกรรมการปฏิรูปประเทศ ภายหลังการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดง พ.ศ. 2553 ยุติลง ในช่วงเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2553 โดยทำหน้าที่ยกร่างแผนปฏิบัติการที่สามารถนำไปปฏิบัติ และแก้ไขปัญหาความอยุติธรรม และความเหลื่อมล้ำที่เกิดขึ้น ซึ่งคณะกรรมการดังกล่าวประกอบด้วยคณะกรรมการ จำนวน 19 คน ทำงานคู่ขนานไปกับคณะกรรมการสมัชชาปฏิรูปประเทศ [2] ผลงาน หนังสือ อิสลามสมัยแรก (2511) , ประวัติศาสตร์นิพนธ์ตะวันตก (2521?) ,การเมืองไทยสมัยพระนารายณ์ (2523) ,ประวัติศาสตร์รัตนโกสินทร์ในพระราชพงศาวดารอยุธยา (2523) ,วัฒนธรรมกระฎุมพีกับวรรณกรรมต้นรัตนโกสินทร์ (2525) ,หลักฐานประวัติศาสตร์ในประเทศไทย (ส021) / นิธิ เอียวศรีวงศ์ และอาคม พัฒิยะ (2525) , ปากไก่และใบเรือ : รวมความเรียงว่าด้วยวรรณกรรม และประวัติศาสตร์ต้นรัตนโกสินทร์ (2527) ,ศรีรามเทพนคร : รวมความเรียงว่าด้วยประวัติศาสตร์อยุธยาตอนต้น / อาคม พัฒิยะ และนิธิ เอียวศรีวงศ์ (2527) , สุนทรภู่ : มหากวีกระฎุมพี (2528) ,การเมืองไทยสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี (2529) ,สุนทรภู่ดูโลกและสังคม / นิธิ เอียวศรีวงศ์ และสมบัติ จันทรวงศ์ (2529) ,เกียวโต ใต้ชะเงื้อมดอยสุเทพ (2532) ,ท่องเที่ยวบุญบั้งไฟในอีสาน : บุญบั้งไฟต้องรับใช้ชาวยโสธรไม่ใช่ชาวยโสธรรับใช้บุญบั้งไฟ (2536) ,ลัทธิพิธีเสด็จพ่อ ร.5 (2536) ,วีรบุรุษในวัฒนธรรมไทย (2536) ,สภาพเศรษฐกิจสังคมไทยยุคใหม่ : จริยธรรมในการศึกษาสำหรับอนาคต (2536) ,สองหน้าสังคมไทย : บทวิพากษ์โครงสร้างอารยธรรมไทย (2539) ,การปฏิรูปพระพุทธศาสนาในประเทศไทย (2543) รวมบทความ กรุงแตก, พระเจ้าตากฯ และประวัติศาสตร์ไทย : ว่าด้วยประวัติศาสตร์และประวัติศาสตร์นิพนธ์ (2538) ,โขน, คาราบาว, น้ำเน่า และหนังไทย : ว่าด้วยเพลง ภาษาและนานามหรสพ (2538) ,ชาติไทย เมืองไทย แบบเรียนและอนุสาวรีย์ : ว่าด้วยวัฒนธรรม, รัฐ และรูปการจิตสำนึก (2538) ,ผ้าขาวม้า ผ้าซิ่น กางเกงใน และฯลฯ : ว่าด้วยประเพณี ความเปลี่ยนแปลง และเรื่องสรรพสาระ (2538) ,สังคมไทยในกระแสการเปลี่ยนแปลง (2539) ,ยุคสมัยไม่เชื่ออย่าลบหลู่ (2541) ,วัฒนธรรมความจน (2541) ,เก็บที่โล่งแก่รากหญ้า : คัดสรรข้อเขียน 1 ทศวรรษว่าด้วยทรัพยากรดิน น้ำ ป่า และอื่นๆ (2543) ,คนจนกับนโยบายการทำให้จนของรัฐ : รวมบทความนิธิ เอียวศรีวงศ์ (2543) ,พุทธศาสนาในความเปลี่ยนแปลงของสังคมไทย (2543) ,ก่อนยุคพระศรีอาริย์ ว่าด้วย ศาสนา ความเชื่อ และศีลธรรม (2545) ,คำมีคม : ว่าด้วยภาษา วัฒนธรรมและอำนาจ (2545) ว่าด้วย "การเมือง" ของประวัติศาสตร์และความทรงจำ (2545) ,ว่าด้วย "เพศ" ความคิด ตัวตน และอคติทางเพศ ผู้หญิง เกย์ เพศศึกษา และกามารมณ์ (2545) ,(ต่าง) คิดในคอก (ตน) ว่าด้วยวัฒนธรรมและวิธีคิด (2546) ,นอกรั้วโรงเรียน (2546) ,ไฮเทคาถาปาฏิหาริย์ ว่าด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในสังคมไทย (2546) ,บริโภค/โพสต์โมเดิร์น (2547) ,อ่านวัฒนธรรมการเมืองไทย (2547) ,ความยุ่งของการอยู่ (2548) ,ประวัติศาสตร์ ชาติ ปัญญาชน (2548) ,วัฒนธรรมคนอย่างทักษิณ (2549) ,,รากหญ้าสร้างบ้าน ชนชั้นกลางสร้างเมือง (2552) วิทยานิพนธ์ การปราบฮ่อและการเสียดินแดน พ.ศ. 2431 (Suppression of the Haw uprisings and loss of Thai territories in 1888) (วิทยานิพนธ์ (อ.ม.) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2509) และ Fiction as history : a study of pre-war Indonesian novels and novelists (1920-1942) (Thesis (Ph.D.) University of Michigan, 1976) (2519) หนังสือแปล ประวัติศาสตร์เยอรมัน (2511) / ฮูแบร์ตุส เลอเวนสไตน์ เขียน; นิธิ เอียวศรีวงศ์, แปล และ พุทธศาสนา : สาระและพัฒนาการ (2514) (Buddhism, its essence and development, by Edward Conze)
รองศาสตราจารย์ ศรีศักร วัลลิโภดม นักวิชาการ นักโบราณคดี นักมานุษยวิทยา ชาวไทย เจ้าของรางวัลวัฒนธรรมเอเชียฟูกูโอกะ ประจำปี พ.ศ. 2550 เป็นผู้ทำงานศึกษาค้นคว้าและเรียบเรียงงานวิชาการ ที่เป็นประโยชน์ต่อการศึกษาค้นคว้าทางประวัติศาสตร์โบราณคดีและมานุษยวิทยาไว้อย่างมากมาย และ เป็นบรรณาธิการนิตยสารเมืองโบราณ เป็นเมธีวิจัยอาวุโส สำนักงานสนับสนุนการวิจัย เป็นคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร เป็นที่ปรึกษามูลนิธิเล็กประไพ วิริยะพันธุ์ ประวัติ เกิดที่กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2481 (73 ปี) [1] เป็นบุตรชายของ นายมานิต วัลลิโภดม อดีตหัวหน้ากองโบราณคดี กรมศิลปากร จบปริญญาตรีอักษรศาสตร์ สาขาภาษาอังกฤษและฝรั่งเศส จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปี พ.ศ. 2503 ได้ทำงานเป็นอาจารย์สอนวิชาประวัติศาสตร์ไทย ที่คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากรและได้ไปศึกษาต่อทางมานุษยวิทยา ที่มหาวิทยาลัยเวสเทิร์นออสเตรเลีย การทำงานในคณะกรรมการปฏิรูปประเทศ ศรีศักดิ์ วัลลิโภดม ได้เข้ามารับหน้าที่เป็นคณะกรรมการปฏิรูปประเทศ ภายหลังการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดง พ.ศ. 2553 ยุติลง ในช่วงเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2553 โดยทำหน้าที่ยกร่างแผนปฏิบัติการที่สามารถนำไปปฏิบัติ และแก้ไขปัญหาความอยุติธรรม และความเหลื่อมล้ำที่เกิดขึ้น ซึ่งคณะกรรมการดังกล่าวประกอบด้วยคณะกรรมการ จำนวน 19 คน ทำงานคู่ขนานไปกับคณะกรรมการสมัชชาปฏิรูปประเทศ [2] ผลงานหนังสือ โบราณคดีไทยในทศวรรษที่ผ่านมา (2525) ,กรุงศรีอยุธยาของเรา (2527) ,สยามประเทศภูมิหลังของประเทศไทยตั้งแต่ยุคดึกดำบรรพ์จนถึงสมัยกรุงศรีอยุธยาอาณาจักรสยาม (2539) ,ความหมายของพระบรมธาตุในอารยธรรมสยามประเทศ (2539) ,มองอนาคต :บทวิเคราะห์เพื่อปรับเปลี่ยนทิศทางสังคมไทย นิธิ เอียวศรีวงศ์,ศรีศักร วัลลิโภดม,เอกวิทย์ ณ ถลาง (2538) ,พระที่นั่งสรรเพชรปราสาท (2538) ,สังคมสองฝั่งโขงกับอดีตทางวัฒนธรรมที่ต้องลำเลิก , รัฐปัตตานีใน "ศรีวิชัย" เก่าแก่ว่ารัฐสุโขทัยในประวัติศาสตร์ (ประชุมงานค้นคว้าและวิจัยทางวิชาการของ ศรีศักร วัลลิโภดม และคณะ) ,พิพิธภัณฑ์และประวัติศาสตร์ท้องถิ่น :กระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน (หนังสือชุดพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น) ,ประวัติศาสตร์โบราณคดี :เมืองอู่ทอง ,นครแพร่ จากอดีตมาปัจจุบัน :ภูมินิเวศวัฒนธรรม ระบบความเชื่อ และประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ,เรือนไทย บ้านไทย
รองศาสตราจารย์ ดร. สุเนตร ชุตินธรานนท์ นักประวัติศาสตร์ และนักเขียนบทภาพยนตร์ชาวไทย ประวัติ จบการศึกษา ศิลปศาสตร์บัณฑิต (ประวัติศาสตร์) เกียรตินิยมอันดับ 1 เหรียญทอง จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาบัณฑิตและดุษฎีบัณฑิต สาขา ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ จากมหาวิทยาลัยคอร์แนล ประเทศสหรัฐอเมริกา ปัจจุบันเป็น รองศาสตราจารย์ ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นนักวิชาการด้านประวัติศาสตร์ และดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถาบันเอเชียศึกษาและผู้อำนวยการหลักสูตรปริญญามหาบัณฑิต (นานาชาติ)สาขาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษาของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นผู้สนใจและศึกษาประวัติศาสตร์โบราณ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับพม่า จนเป็นผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับประวัติศาสตร์พม่า 1 ใน 5 คน ของประเทศ ณ ปัจจุบัน มีผลงานการเขียนด้านบทความมากมายตามนิตยสารต่าง ๆ เช่น เมืองโบราณ, ศิลปวัฒนธรรม เป็นต้น มีผลงานด้านหนังสือ เช่น พม่ารบไทย (พ.ศ. 2537), บุเรงนอง กะยอดินนรธา กษัตริย์พม่าในโลกทัศน์ไทย (พ.ศ. 2538), พระสุพรรณกัลยาจากตำนานสู่หน้าประวัติศาสตร์ (พ.ศ. 2542), พม่าอ่านไทย (พ.ศ. 2544) เป็นต้น สำหรับผลงานวิจัยชิ้นล่าสุด ในปี พ.ศ. 2552 คือ ไทยในการรับรู้และความเข้าใจของประเทศเพื่อนบ้าน ภายใต้การสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนเพื่อสนับสนุนการวิจัย (สกว.) เป็นโครงการที่ศึกษามุมมองของประเทศเพื่อนบ้านอันได้แก่ พม่า, ลาว, เวียดนาม, กัมพูชา, และมาเลเซีย ว่ามีมุมมอง ทัศนคติต่อไทยอย่างไร ซึ่ง รศ.ดร.สุเนตร ชุตินธรานนท์ ทำหน้าที่เป็นหัวหน้าโครงการ นอกจากนี้ รศ.ดร. สุเนตร ชุตินธรานนท์ ยังเป็นวิทยากรให้ความรู้ทางประวัติศาสตร์ตามโอกาสต่าง ๆ เช่น การพูดคุยกับวีระ ธีรภัทรทางวิทยุคลื่น F.M.96.5 MHz เป็นต้น และยังเป็นที่ปรึกษาทางประวัติศาสตร์แก่หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล ในการเขียนบทภาพยนตร์เรื่อง สุริโยไท (พ.ศ. 2544) และตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช (พ.ศ. 2550) โดยในเครดิตภาพยนตร์ปรากฏชื่อของ รศ.ดร. สุเนตร เป็นผู้เขียนบทร่วมกับหม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล ด้วย
เอนก นาวิกมูล ( 14 มีนาคม พ.ศ. 2496 - ปัจจุบัน ) เป็นนักวิชาการ นักเขียนสารคดี นักสะสมของเก่า และ ยังเป็นผู้ก่อตั้ง บ้านพิพิธภัณฑ์ เอนก เกิดวันเสาร์ที่ อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา ครอบครัวทำกิจการร้านขายหนังสือแบบเรียน บิดาเป็นนักประดิษฐ์ นักสะสมหนังสือ ปฏิทิน ส.ค.ส. ภาพถ่าย ส่วนตัวจึงชอบถ่ายภาพ ชอบศึกษาค้นคว้า เขียนหนังสือ และเป็นนักสะสมมาตั้งแต่เด็ก การศึกษา จบชั้นประถมศึกษาจาก โรงเรียนบ้านระโนด(ธัญเจริญ) อ.ระโนด จ.สงขลา จบมัธยมศึกษาตอนต้นจากโรงเรียนมหาวชิราวุธ จังหวัดสงขลา มัธยมศึกษาตอนปลาย สาย ศิลป์-คณิต จากโรงเรียนวรนารีเฉลิม จังหวัดสงขลา ปีพุทธศักราช 2515 และมาเรียนต่อที่คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจบรัฐศาสตร์ (รุ่น 25) เกียรตินิยม แรกเริ่ม เอนก เป็นคนที่รักการสะสมแสตมป์ รูปภาพ ถ่ายรูป การเขียนหนังสือและการวาดภาพ วาดการ์ตูนมาตั้งแต่เด็ก ๆ เพื่อน ๆ ในสมัยเรียนต่างชอบอ่านหนังสือการ์ตูน นิทาน ที่เอนกทำขึ้น สมัยที่เรียน มัธยมปลาย เอนก ได้รับมอบหมายให้เป็นสารานียกร หนังสือรุ่น ซึ่งถือเป็นงานหนังสือที่เอนกได้รับผิดชอบและทำได้ดีมากรุ่นหนึ่ง ของโรงเรียนวรนารีเฉลิม เขาเรียนจบปริญญาตรีที่คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เกียรตินิยม จากนั้นทำงานหนังสือพิมพ์ เป็นนักเขียนสารคดีเรื่องทางศิลปะวัฒนธรรม เพลงพื้นบ้าน ภายหลังได้ทำงานที่ศูนย์สังคีตศิลป์ ธนาคารกรุงเทพ เชิงสะพานผ่านฟ้าฯ และริเริ่มก่อตั้ง "บ้านพิพิธภัณฑ์" เป็นพิพิธภัณฑ์จัดแสดงของใช้เก่าในชีวิตประจำวันของชาวเมืองชาวตลาด ซึ่งหน่วยงานรัฐและคนทั่วไปยังไม่สนใจเก็บรักษา โดยสร้างคำขวัญว่า "เก็บวันนี้ พรุ่งนี้ก็เก่า" จนกระทั่งเข้ากรุงเทพฯ ในปี 2515 เข้าเรียนมหาวิทยาลัยก็อยากออกไปสำรวจโลกภายนอก เมื่อไปรู้ไปเห็นเรื่องเก่ามามากเข้า ก็เพลาการเขียนเรื่องสั้นลงไป แล้วหันมามุ่งกับการเขียนสารคดีมากขึ้น เพราะเห็นว่าเมืองไทยขาดแคลนข้อมูลมาก ข้อมูลที่มีอยู่ก็ไม่มีที่มาที่ไป แถมบางทียังขัดกันจนไม่รู้ว่าจะเชื่ออันไหนดี บางเรื่องเป็นเรื่องนอกสายตาที่คนลืมไปแล้ว ก็เขียนลงในนิตยสารหลายเล่ม เริ่มต้นจากวิทยาสาร ปี 2518 โดยในปีนี้เองมีหนังสือสารคดีเป็นของตัวเองเป็นเล่มแรกชื่อ "เพลงยังไม่สิ้นเสียง" เป็นหนังสือที่อาจารย์ให้ทำขึ้นเพื่องานงานหนึ่ง ต่อมาก็เป็นนิตยสารศิลปวัฒนธรรม ในปี 2522 และมาเขียนให้กับนิตยสารสารคดี ในคอลัมน์ "มุมสะสม" ตั้งแต่ฉบับแรกปี 2528 อะไรเป็นแรงบันดาลใจให้นักรัฐศาสตร์กลายมาเป็นนักเก็บสะสม เอนกเล่าว่า ความที่พ่อเป็นนักเก็บสะสม บวกกับที่เขาเป็นคนชอบอ่านชอบดูมาตั้งแต่เด็ก อยู่ชั้น ป.3 ป.4 ก็นั่งเขียนกลอน ตอน ป.6 ส่งบทกลอนไปที่นิตยสารชัยพฤกษ์ ก็ได้รับการตีพิมพ์เป็นครั้งแรก และเริ่มเขียนเรื่องสั้นตอน ป.7 ทำให้อยากเป็นนักเขียนมากขึ้น แล้วเมื่อขึ้น มศ.1 ก็ประสบความสำเร็จ เมื่อเรื่องสั้น "ปีแห่งกรรม" เป็นเรื่องเกี่ยวกับชาวนาไทย ได้รับรางวัลที่ 1 จากการประกวดเรื่องสั้นทั้งประเทศของนิตยสารชัยพฤกษ์ โดยได้รับอิทธิพลการเขียนและความคิดจากงานประพันธ์ของ น. ณ ปากน้ำ ที่กล่าวถึงการทำลายสถาปัตยกรรม วัดวาอาราม และในช่วงนี้เองครูประจำชั้นก็สอนถ่ายภาพให้ หลังจบการศึกษาจากจุฬาฯ เอนกทำงานหนังสือพิมพ์ เป็นนักเขียนสารคดีเกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรม เพลงพื้นบ้าน ต่อมาจึงไปทำงานที่เมืองโบราณ สมุทรปราการ เมื่อปีพุทธศักราช 2520 และลาออกไปทำงานที่ศูนย์สังคีตศิลป์ ธนาคารกรุงเทพ เชิงสะพานผ่านฟ้าโดยร่วมงานกับ กวีรัตนโกสินทร์ " คุณเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ " ศิลปินแห่งชาติ ตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2527 จนถึงปัจจุบัน ในยุคนั้นได้มีเพื่อนร่วมงานที่มีชื่อเสียงตาม ๆ กันมาอาทิ คุณเจนภพ จบกระบวนวรรณ คุณโดม สุขวงศ์ เป็นต้น เอนก นาวิกมูล มีผลงานเขียนหนังสือหลายสิบเล่ม (104 เล่ม - ม.ค. 2549) ซึ่งเป็นการค้นคว้า และวิเคราะห์เรื่องราวและภาพถ่ายเก่า จากหอจดหมายเหตุแห่งชาติ และแหล่งอื่น ได้รับรางวัลผู้สนับสนุนการอนุรักษ์มรดกไทยดีเด่น เนื่องในวันอนุรักษ์มรดกไทย เมื่อปีพุทธศักราช 2534 และได้รับการยกย่องเป็นนิสิตเก่ารัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยดีเด่น เมื่อปีพุทธศักราช 2536 เอนก เป็นผู้ริเริ่มก่อตั้ง บ้านพิพิธภัณฑ์ ในปีพุทธศักราช พ.ศ. 2530 เป็นพิพิธภัณฑ์ที่จัดแสดงของใช้เก่าๆ ในชีวิตประจำวันของคนไทยในอดีต จำลองบรรยากาศร้านค้าประเภทต่างๆ เช่น ร้านกาแฟ ร้านตัดผม ร้านขายยา ร้านถ่ายรูป ร้านขายหนังสือ นำมาจัดแสดง บ้านพิพิธภัณฑ์ตั้งอยู่ที่ บ้านเลขที่ 170/17 หมู่ที่ 17 หมู่บ้านคลองโพแลนด์ ซอยคลองโพ 2 ถนนศาลาธรรมสพน์ (ถนนต่อจากถนนพุทธมณฑลสาย 2 ด้านทางรถไฟ) เขตทวีวัฒนา กรุงเทพ 10170 เริ่มเปิดให้เข้าชมตั้งแต่ ปีพุทธศักราช 2544 โดยนิสัยส่วนตัวของเอนก เป็นคนรักความสงบ อ่อนน้อม แต่จริงจังและมีความสุขกับการทำงาน เขาชอบที่จะใช้ชีวิตอย่างเรียบง่ายและสมถะ จึงเป็นที่รักใคร่ของเพื่อนๆ และผู้ที่ได้รู้จัก และเขายังได้มีคติประจำตัวของเอนกนั้นคือ "ศรัทธาเป็นพลัง" เกียรติยศรางวัล ได้รับรางวัล ผู้สนับสนุนการอนุรักษ์มรดกไทยดีเด่น เนื่องในวันอนุรักษ์มรดกไทย ในปีพุทธศักราช 2534 , ได้รับการยกย่องเป็นนิสิตเก่ารัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยดีเด่น ในปีพุทธศักราช 2536 ,ได้รับรางวัล ‘สารคดี’ เกียรติยศครั้งที่ 1 ณ.หอศิลป์กรุงเทพมหานคร วันพฤหัสบดีที่ 6 พฤษภาคม พุทธศักราช 2553 ,ได้รับรางวัล ผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี 2554 ที่มาจาก http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%A7%E0%B8%94%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B9%E0%B9%88:%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2

ประวัติศาสตร์ชนชาติไทย

ประวัติศาสตร์ไทย
ถิ่นเดิมของไทยอยู่ในดินเเดนซึ่งปัจจุบันนี้เป็นอาณาเขตของประเทศจีน บริเวณลุ่มเเม่น้ำฮวงโห หรือ เเม่น้ำเหลือง เเละ บริเวณเเม่น้ำยังซีเกียง หรือเเม่น้ำเเยงซีเกียง เมืองสำคัญของชาวไทยในครั้งนั้น คือ ลุง อยู่ทาง เหนือ เเถมต้นเเม่น้ำฮวงโห ใกล้เเนวกำเเพงเมืองจีน เเละ ปา อยู่ทางใต้ เเถบมณฑลเสฉวนปัจจุบัน ประมาณ 5 000 ปีที่เเล้ว ชาวจีนซึ่งร่อนเร่อยู่เเถบทะเลเเคสเปียน ได้ย้ายมา ทางทิศตะวันตก เเละเข้ารุกรานบ้านเมืองของชาวไทยซึ่งตั้งหลักเเหล่ง อยู่ก่อน ชาวไทยจึงพากันอพยพถอยร่อนลงมาทางใต้ เข้าเขต มณฑล ยูนนาน (ฮูนหนำ) ไกวเจา กวางสี กวางตุ้ง ต่างเเยกย้ายกันตั้งบ้านเมือง อยู่เป็นอิสระหลายเมือง ชาวไทยเหล่านี้เรียกตัวเองว่า อ้ายลาว การที่ไทยถูกจีนรุกราน ต้องอพยพหลบหนีภัยจากถิ่นเดิมลงมาทางใต้นั้น มิใช่อพยพลงมาคราวเดียวทั้งหมด เเต่อพยพลงมาทีละพวกทีละหมู่ พวกใดทนอยู่กับการเบียดเบียนได้ก็อยู่ต่อที่เดิม พวกที่รักอิสระก็พากัน อพยพ ลงมาทางใต้ พบเเหล่งใดมีความอุดมสมบูรณ์ก็ตั้งถื่นฐาน สร้างบ้านเมืองขึ้นใหม่ เส้นทางอพยพของชาวไทยจนเข้ามาอยู่ในคาบสมุทรอินโดจีนปัจจุบัน ชาวไทยอาศัยเเม่น้ำ ๒ สายเป็นสำคัญ คือ เเม่น้ำสาละวิน เเละเเม่น้ำโขง เส้นทางที่ ๑ พวกที่อพยพไปทางตะวันตกเฉียงใต้ บริเวณลุ่มเเม่น้ำ สาละวิน เเละตั้งภูมิลำเนาอยู่ในประเทศพม่าเดี๋ยวนี้เรียกว่า ไทยใหญ่ หรือ ไทยเงี้ยว หรือ ฉาน พวกที่อพยพไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ เเละตั้ง ภูมิลำเนาอยู่ในเเคว้นอัสสัมเดี๋ยวนี้ เรียกว่าไทยอาหม เส้นทางที่ ๒ พวกที่อพยพไปทางทิศใต้ บริเวณลุ่มเเม่น้ำโขง ผ่านเข้าไป ในดินเเดนสิบสองปันนา สิบสองจุไทย เเละตังเกี๋ย เเละตั้งภูมิลำเนาอยู่ใน ดินเเดนตอนเหนือของประเทศเวียดนามเเละประเทศลาว ปัจจุบันนี้ เรียกว่า ไทยน้อย ต่อมาไทยพวกนี้ได้ยกเข้ามาอยู่ในดินเเดนลานนาไทย ทางตอน เหนือของประเทศไทย ในที่สุดได้ชายเเดนลงมาทางใต้ในบริเวณลุ่มเเม่น้ำ เจ้าพระยาตลอดลงไปในเเหลมมลายู พวกไทยน้อยเป็นบรรพบุรุษของ ชาวไทย (สยาม) ในปัจจุบัน ชาวไทยที่ยังคงอยู่ในอาณาจักร อ้ายลาว ต้องตกอยู่ในอำนาจของจีน ตลอดมาช้านาน จนสิ้นสมัยสามก๊กเเล้ว จีนผลัดเปลี่ยนเเผ่นดินบ่อยๆ เเละรบพุ่งกันเองเนืองๆ ชาวไทยจึงมีโอกาสรวบรวมกันตั้งบ้านเมืองขึ้น เป็นอิสระ ครั้งนั้นเเยกกันอยู่เป็น ๖ เมืองด้วยกัน คือ ม่งซุ้ย(หมงสุ่ย) ซีล่าง(ซีหล่ง) ม่งเส(เอี้ยเซ่) ล่างกง(หล่องกุ๊ง) เเละ เท่งเซี้ยง(เถ่งหยิม) ราวศตวรรษที่ ๑๒ เเห่งพุทธกาล พระสินุโล เเห่งม่งเส มีอานุภาพ ได้รวบรวมชาวไทย ตั้งบ้านเมืองเป็นอิสระ ทรงทำให้ไทยมีกำลัง เข้มเเข็งขึ้น พ.ศ. ๑๒๗๒ พระเจ้าพีล่อโก๊ะ เป็นนักรบที่กล้าหาญ ได้รวบรวมเมืองต่างๆ ที่เเยกกันตั้งอยู่เป็นอิสระ เข้าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับม่งเสได้สำเร็จ ตั้งเป็นอาณาจักรใหม่ขึ้น เรียกว่า อาณาจักรน่านเจ้า เเปลว่า เจ้าใต้ นับว่าไทย เป็นปึกเเผ่นมั่งคงยิ่งขึ้น พ.ศ. ๑๒๙๑ พระเจ้าโก๊ะล่อฝง ตั้งเมือง ตาลีฟู หรือ หนองเเส เป็นราชธานี ของอาณาจักร น่านเจ้า ได้รบกันกับจีนหลายครั้ง เเละได้ชัยชนะ อาณาจักรน่านเจ้า มีอาณาเขตกว้างขวาง คือเขตมณฑลยูนนานทั้งหมด รวมเเคว้นสิบสองปันนาด้วย กล่าวคือ ทิศเหนือจดมณเสฉวน ทิศใต้ จดพม่า ญวน ทิศตะวันออกจดดินเเดนไกวเจา กวางสี ตังเกี๋ย ทิศตะวันตก จดพม่า ทิเบต มีกษัตริย์ปกครองต่อมาอีกหลายองค์ เเละมีเรื่องราว เกี่ยว ข้องกับจีนมาก จนกระทั่งถูกกองทัพมงโกลยกมาย่ำยี อาณาจักรน่านเจ้า ถูกทำลายสิ้นในปี พ.ศ. ๑๗๙๗ ชาวไทยน่านเจ้าอพยพหนีภัยลงมาทางใต้ ก็มีมาก เเละที่ตกอยู่ในอำนาจของพวกมงโกลเเห่งคุบไลข่านก็มิใช่น้อย อาณาจักรน่านเจ้าของไทยก็ศูญชื่อตั้งเเต่บัดนั้นเป็นต้นมา หรือว่าไทยอยู่ทีนี้ไม่ได้ย้ายมาจากไหนเลย แต่ก็ไม่อาจจะทราบข้อมูลที่แท้จริงได้ว่าตกลงชนชาติไทยมาจากไหน ที่มาจาก http://jannyhistory.wordpress.com/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2/

คู่กรรม

บทประพันธ์ ทมยันตี เรื่องย่อ อังศุมาลินโตมาท่ามกลางความรักและความอบอุ่นของ แม่อร และยาย พ่อของอังเป็นอดีตทหารเรือ ชื่อ หลวงชลาสินธุราช อังฯมีเพื่อนชายที่รู้ใจและสนิทสนมกันมาตั้งแต่เด็ก ชื่อ วนัส ที่ในใจลึก ๆ ของเขาแอบรักอังมากกว่าน้องสาว แต่เธอคิดว่ายังไม่พร้อมที่จะมีความรัก จนวนัสเดินทางไปเรียนต่อที่อังกฤษ อังกับครอบครัวมีโอกาสได้รู้จักสนิทสนมกับ หมอโยชิ หมอชาวญี่ปุ่นผู้แสนใจดีและเป็นมิตร หมอโยชิเอ็นดูอังฯ จนเสนอตัวสอนภาษาญี่ปุ่นให้เธอด้วยความเต็มใจ แล้วอังฯ ก็ได้พบกับ โกโบริ ขณะที่เธอว่ายน้ำเล่นไปแอบดูอู่เรือของทหารญี่ปุ่นที่มาตั้งรกรากอยู่ใกล้ ๆ สวนบ้านเธอ โกโบริเป็นนายช่างใหญ่ประจำอู่ เขากล่าวทักทายอังฯอย่างเป็นมิตร แต่อังฯ ไม่พูดด้วย เพราะอคติกับคนญี่ปุ่น โดยเฉพาะทหารโกโบริก็เริ่มแสดงไมตรีกับครอบครัวอังฯ ใช้ให้ทหารลูกน้องส่งข้าวของผลไม้สำหรับคนป่วยมาให้ยายของอังฯ พาหมอมาดูอาการยาย จนทำให้ทั้งแม่กับยายเริ่มเอ็นดูและมองเห็นถึงน้จไมตรีของโกโบริ ขณะที่อังฯ ก็ยังอคติกับเขาอย่างเดิม สัญญาณระเบิดดังขึ้น ในคืนที่อังฯ อยู่บ้านคนเดียว โกโบริซึ่งแวะมาหาพอดี เลยมีโอกาสได้ช่วยเหลือพาอังฯ ไปหลบภัยที่ท้ายสวน ทั้งคู่วิ่งฝ่ากระสุน โกโบริกอดอังฯ วิ่งเอาตัวเป็นกำบังให้ และพาอังฯ ไปหลบในท้องร่องและกอดอังไว้แน่น ระเบิดก็ลงใกล้ ๆ จุดนั้น โกโบริยอมเสี่ยงชีวิตเจ็บตัวแทนอังฯ และก่อนที่เขาจะหมดสติไป โกโบริก็บอกรักอังฯ ผมรักคุณ แม้ลึก ๆ แล้วเธอจะรัก แต่เพราะโกโบริเป็นชาวญี่ปุ่น เป็นศัตรูที่เข้ามากร้ำกรายบ้านเกิดเมืองนอนของเธอ อังฯ จึงปฏิเสธโกโบริอย่างไม่ใยดี โกโบริมาขอโทษอังฯ ที่เรื่องของเขากับเธอกลายเป็นเรื่องใหญ่เรื่องโต และมีเรื่องการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้อง ทุกอย่างบีบคั้น เหมือนมัดมือชก จนในที่สุด อังฯ ก็จำต้องจำยอมแต่งงานกับโกโบริด้วยเหตุผลทางการเมือง ความสุภาพแสนดีของโกโบริ เริ่มทำให้อังฯ เริ่มมองเขาในแง่ดีมากขึ้นทีละนิด จนคืนหนึ่งขณะที่เธอมายืนนึกถึงสัญญาที่เคยให้ไว้กับวนัสที่ใต้ต้นลำพู โกโบริก็มาเจอ อังฯ จึงสารภาพกับโกโบริว่าเธอมีคนที่เธอรออยู่แล้ว ( วนัส ) โกโบริเสียใจแต่ไม่แสดงออก แต่อังฯ กลับเป็นฝ่ายรู้สึกว่าตัวเองได้ทำร้ายจิตใจของโกโบริ เธอเห็นใจและสงสารโกโบริจับใจโกโบริมุงานหนัก นอนที่อู่เรือไม่ยอมกลับบ้าน พร้อมกับทำเรื่องขอย้ายไปประจำที่พม่า เพราะสถานการณ์ที่พม่ากำลังวุ่นวาย เขาไม่ต้องการได้ชื่อว่าเป็นทหารที่เลือกแต่งานสบาย แต่หมอโยชิรู้ดีว่าโกโบริมีเหตุผลมากกว่านั้น เพราะสังเกตเห็นว่าโกโบริกับอังฯ มีปัญหาไม่เข้าใจกัน หมอโยชิจพยายามเข้ามาประสานความสัมพันธ์ของทั้งคู่ แต่ก็ไม่เป็นผลแล้วคืนหนึ่ง วนัสก็แอบมาพบกับอังฯ วนัสรู้เรื่องอังฯ ดีทุกอย่าง เขารู้ดีว่าอังฯ กำลังสับสนใจระหว่างโกโบริกับเขา จึงให้อิสระอังฯ ได้เลือกคนที่เธอรัก พร้อมกับฝากให้อังฯบอกโกโบริด้วยว่า อย่าไปบางกกอกน้อยตอนมีระเบิด อังฯซึ้งใจกับความเป็นสุภาพบุรุษของวนัสระเบิดลงชุดใหญ่ทำให้อังฯกลัวว่าโกโบริจะเป็นอันตราย จึงรีบตามไปบางกอกน้อยโดยไม่สนคำทัดทานของใครเมื่อไปถึงปรากฏว่าสถานีรถไฟบางกอกน้อยโดนถล่ม ทหารนอนตาย บาดเจ็บมากมาย อังเจอฯ เจอหมอโยชิ ซึ่งก็กำลังตามหาโกโบริอยู่เหมือนกัน อังฯ ขอพรลูกในท้องให้ช่วยคุ้มครองโกโบริ อังฯ เดินตามหาโกโบริอย่างรุ่มร้อนใจ จนในที่สุดอังฯ ก็พบโกโบรินอนบาดเจ็บ อาการสาหัส อังฯ ไม่ยอมให้โกโบริจากเธอไป แต่โกโบริรู้ตัวดีว่าเขาคงไม่รอด จึงฝากให้อังฯ ช่วยดูแลลูกแทนเขาด้วย อังฯบอกรักโกโบริก่อนที่เขาจะสิ้นลมบนตักอังฯ นั่นเอง จบที่งานศพของโกโบริ ทุกคนร่ำไห้เสียใจ อังฯ ให้สัญญาต่อหน้าศพโกโบริว่า เธอจะมีชีวิตอยู่ต่อไปเพื่อลูก และจะดูแลลูกให้ดีที่สุดเพื่อ โกโบริผู้ชายที่เธอรักสุดหัวใจ และคู่กรรมได้กลับมาทำใหม่หลากหลายเวอร์ชั่นต่างๆ ที่พอรู้และดูผ่านๆนะ อย่างเวอร์ชั่น โอ วรุต วรธรรม กับ แหม่ม จินตหรา สุขพัฒน์ ประมาณปี 2531
เวอร์ชั่น เบิร์ด ธงไชย กับ กวาง กมลชนก ละครทที่ดังที่สุดประมาณ 2533
เวอร์ชั่น หนุ่ม ศรราม เทพพิทักษ์ กับ เบนซ์ พรชิตา ณ สงขลา ในปี 2547ทางช่่อง 3
เป็นต้น อ้างอิง http://movie.sanook.com/21341/%E0%B8%84%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1/

คู่กรรม 2

บทประพันธ์ : ทมยันตี เรื่องย่อ อังศุมาลินให้สัญญาต่อหน้าศพโกโบริว่า เธอจะมีชีวิตอยู่ต่อไปเพื่อลูกและดูแลลูกให้ดีที่สุดเพื่อโกโบริ ผู้ชายที่เธอรักสุดหัวใจหลายปีต่อมาหลังจากโกโบริเสียชีวิต กองทัพสหรัฐอเมริกาก็ถล่มเมืองนางาซากิและฮิโรชิมาทำให้ญี่ปุ่นยอมแพ้สงคราม อังศุมาลินเห็นภัยสงครามที่จะมา ถึงกลินท์หรือโยอิจิลูกชายของเธอ เพราะลูกชายมีสายเลือดญี่ปุ่นอยู่จึงปิดตัวจากสังคมภายนอกมีเพียงวนัสที่อังศุมาลินยังติดต่อไปมาหาสู่ ช่วง เวลานั้นเองหลวงชลาสินธุราชพ่อของอังศุมาลินถูกจับฐานเป็นอาชญากรสงคราม ทางรัฐบาลก็ได้ช่วยเหลือให้หลวงชลาสินธุราชพ้นจากความผิด และเป็นอิสระในที่สุด เมื่อออกจากคุกก็ได้ไปหาภรรยาเก่า คือ อร ก็ได้รู้ว่ายาย ของอังศุมาลินเสียชีวิต แล้วทำให้หลวงชลาสินธุราชบวชให้ และไม่ยอมศึก ในที่สุดก็มรณะภาพภายใต้ร่มกาสาวพักตร์ ทำให้อังศุมาลินเลี้ยงดูอรและกลินท์เพียงลำพัง อังศุมาลินเลี้ยงดู และปลูกฝังความเป็นโกโบริให้กับกลินท์ ซึ่งกลินท์เกลียดไม่ยอมรับว่าเขามีเชื้อสายความเป็นญี่ปุ่น เมื่อกลินท์เรียนจบก็ เป็นอาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยธรรมศาสตจร์และยังเป็นแกนนำให้นักศึกษาประท้วงและต่อต้านสินค้าญี่ปุ่น มีเพียงอาจารย์ชิตาภาคอยเตือน กลินท์เสมอ ทำให้กลินท์เริ่มไม่ไว้ใจในตัวชิตาภาจึงพยายามหลีกเลี่ยงไม่พบชิตาภาเหล่านักศึกษาไม่มีใครรู้ว่ากลินท์มีเชื้อสายเป็นญี่ปุ่นนอก จาก ศราวณี ลูกพี่ลูกน้องของเขาเอง จากการปลูกฝังทำให้ศราวณีเกลียด และนำเรื่องชาติกำเนิดของกลินท์มาเปิดเผยจึงทำให้ทุกคนต่างต่อ ต้านและทำให้กลินท์ลาออกจากการเป็นอาจารย์มีแต่ชิตาภาที่เข้าใจ กลินท์จึงขอให้ชิตาภาบอกให้ศราวณีเลิกการประท้วงแต่เขาไม่เชื่อ ศราวณีเป็นแกนนำการประท้วงต่อไป จากการประท้วงจึงทำให้เหล่านักศึกษาถูกจับกุมและกลินท์ก็เข้าไปช่วยเหลือศราวณี จึงถูกทำร้ายจากกลุ่มนักศึกษา ศราวณีก็เข้ามาช่วยและ บอกความจริงว่ากลินท์คือพี่ชายของตน กลินท์จึงรู้ความจริงทั้งหมดและได้พาศราวณีมาที่บ้านของตน พอศราวณีได้มาพบกับอังศุมาลี จึงทำให้รู้ว่าอังศุมาลีเป็นคนดี และมั่นคงต่อโกโบริไม่เหมือนกับที่แม่ของตนบอกว่าอังศุมาลีคบชู้เลย ศราวณีรู้สึกผิดในสิ่งที่ตน กระทำจึงขอโทษที่ เคยทำไม่ดีกับกลินท์ ทุกคนให้อภัยความใกล้ชิดจึงทำให้กลินท์และศราวณีผูกพันกันมากขึ้น ชิตาภาตัดสินใจพาศราวณีกลับบ้าน แต่พอกลับเข้าบ้านก็มีปากเสียงกับกบ ทำให้ศราวณีหนีออกจากบ้าน และไปร่วมมือกับนักศึกษาประท้วง รัฐบาลให้ปล่อยคนที่โดนจับจากการประท้วงครั้งนั้นก็ก่อให้เกิดการจราจลทำให้นักศึกษาและประชาชนเสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บจำนวนมาก ส่วนศราวณีได้รับบาดเจ็บด้านชิตาภา อังศุมาลิน และกลินท์ทราบข่าวทางโทรทัศน์จึงตามไปช่วยเหลือ เมื่อทุกคนมาถึงต่างตกใจเมื่อพบว่าร่าง กายและหน้าตาของศราวณีเต็มไปด้วยรอยฟกช้ำจึงรีบพากลับบ้าน แต่ศราวณีกลับกลายป็นคนสติฟั่นเฟือน และพูดพร่ำเพ้อว่าตนเองเป็นต้น เหตุที่พาทุกคนไปตาย ชิตาภาโทรศัพท์ไปบอกกบให้มารับศราวณีแต่กบกับโวยวายต่างๆนานา โดยไม่รู้เลยว่าตน เองก็เป็นต้นเหตุที่ทำให้ลูก สาวต้องเป็นเช่นนี้ เหตุการณ์ร้ายที่เกิดขึ้นในวันที่ 14 ตุลาคม 2516 วันมหาวิปโยคทำให้คณะรัฐบาลกราบถวายบังคมทูลลาออกหลังจากมีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บนับพันคนกลินท์มาพบชิตาภา และทราบว่าเธอต้อง ไปใช้ชีวิตที่เมืองนอกพร้อมทั้งพาศราวณีไปรักษา กลินท์ก็ได้รู้ว่าตนเองรักกับชิตาภาไม่ได้เพราะเธอมีคู่หมั้นอยู่แล้วคือ ร๊อบ โรเบิร์ต เบิร์กเลย์ ชิตาภาบอกความในใจของตนเองที่มีต่อกลินท์ แต่ต้องขอโทษที่ตนเองด่วนมีคู่หมั้นเสียก่อน และเธอก็บอกกลินท์ว่าสักวันหนึ่งจะกลับมาหา กลินท์ก็บอกกับชิตาภาว่าจะรอเมื่อชิตาภามีทุกข์และต้องการเพื่อนแท้พักหลังอังศุมาลินมีอาการป่วยหนัก และก็บ่นถึงชิตาภาว่าเมื่อ ไหร่จะกลับมาซักที กลินท์ก็เป็นคนดูแลแม่มาโดยตลอด อังศุมาลินขอไห้ลูกชายเล่นซาซิเม็งให้ฟัง กลินท์จึงเล่นให้ฟังเป็นประจำโดยที่กลินท์ไม่รู้เลยว่าโกโบริมารับอังศุมาลินไปยังทางช้างเผือกตามที่เคยสัญญากันไว้ในอดีต ซึ่งครั้งล่าสุดในปี 2547 ทางช่อง 3 ได้ทำเป็นละครออกอากาศทุกวัน จันทร์ อังคาร เวลา 20:20 น
บทโทรทัศน์ พิง ลำพระเพลิง กำกับการแสดง นพดล มงคลพันธ์ ดำเนินการผลิต บริษัท เรด ดราม่า จำกัด นำแสดงโดย วรเวช ดานุวงศ์ รับบทเป็น กลินท์ / โยอิจิ, มนัสนันท์ พันเลิศวงศ์สกุล รับบทเป็น ศราวณี , ศรราม เทพพิทักษ์ รับบทเป็น โกโบริ , พรชิตา ณ สงขลา รับบทเป็น อังศุมาลิน , นันทกา วรวณิชชานันท์ รับบทเป็น ชิตาภา , กรุณพล เทียนสุวรรณ รับบทเป็น วนัส , จินตหรา สุขพัฒน์ รับบทเป็น แม่อร ,จารุณี สุขสวัสดิ์ รับบทเป็น คุณนาย, เขมสรณ์ หนูขาว รับบทเป็น กบ , ถั่วแระ เชิญยิ้ม รับบทเป็น ตาผล, ค่อม ชวนชื่น รับบทเป็น ตาบัว,น้องพี ม๊กจ๊ก รับบทเป็น โก๊ะ ที่มาจาก http://movie.sanook.com/21336/%E0%B8%84%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1-2

นวนิยาย เรื่องทวิภพ

เรื่องย่อทวิภพ มณีจันทร์ สาวแห่งพ.ศ.นี้ ผู้ถึงพร้อมด้วยรูปสมบัติ ทรัพย์สมบัติ ชาติตระกูลและการศึกษา ใช้ชีวิตอยู่ในต่างประเทศมาแทบตลอด เพราะบิดารับราชการในกระทรวงการต่างประเทศ และต้องเดินทางตามประเทศต่าง ๆ ในฐานะเอกอัครราชทูต เมื่อมณีจันทร์และคุณมาลิดา ผู้เป็นมารดากลับมาเยี่ยมบ้านเกิด มณีจันทร์ฝันซ้ำ ๆ อยู่แต่เรื่องเดียว เธอฝันเห็นเรือนทรงไทยตะคุ่ม ๆ เห็นห้องหนึ่งสลัวราง และในห้องนั้นก็มีเสียงเรียก "แม่มณี...แม่มณีจ๋า" เธอตื่นทุกครั้งที่ได้ยินเสียงเรียกนั้นนุ่มนวลชวนให้ถวิลหายิ่งนัก มณีจันทร์ไม่เคยเล่าเรื่องนี้ให้ใครฟังแม้แต่คุณมาลิดา จนกระทั่งวันหนึ่งเธอซื้อกระจกบานหนึ่งมาจากร้านขายของเก่า กระจกบานยาวในกรอบไม้ฉลุสลักลวดลายเก่าจนฝุ่นเขรอะ ลายบางส่วนหักวิ่น "กระจกสมัย รัชการที่ 5" เจ้าคุณวิศาลคดี ชายชราผู้ขายบอกเธอ ที่กระจกมีรอยร้าวเป็นทางจากมุมลงมา มณีจันทร์ใช้ปลายนิ้วเช็ดกระจกเฉพาะตรงหน้า แว่บแรก เธอรู้สึกคุ้นเคยราวกับเคยเห็นคันฉ่องกรอบนั้นมาช้านาน หัวใจเอิบอาบซาบซ่าละม้ายได้ของรักคืนมา กระจกบานนั้นถูกตั้งไว้ในห้องนอนของเธอทำมุมกับอ่างล้างหน้าและเหยือกโบราณที่มีอยู่เดิม สิ่งอัศจรรย์หลายอย่างเกิดขึ้นกับเธอแม้ยามหลับและยามตื่น เธอรู้สึกถึงความผูกพันแนบแน่นที่มีต่อเจ้าของเสียง "แม่มณี...แม่มณีจ๋า" ทั้งที่ไม่เคยเห็นหน้าผู้เรียกเลย วันหนึ่งเธอก็ได้เห็น "เขา" เห็นรูปถ่ายที่บ้านกุลวรางค์ เพื่อนสนิท มณีจันทร์รู้สึกว่าใช่คนนี้แน่นอนจึงซักไซร้จนได้ความว่าท่านคือ เจ้าคุณอัครเทพวรากร หรือ หลวงเทพ เอกอัครราชทูตไทยคนแรกประจำสหรัฐอเมริกา และคุณหญิงของท่านชื่อ "คุณมณี" มณีจันทร์จึงขอรูปหลวงเทพจากกุลวรางค์ รูปที่ได้มาเหมือนสายใยที่ร้อยรัดความรู้สึกของมณีจันทร์ ให้แนบแน่นกับผู้ชายในฝันมากขึ้น จนกลายเป็นเส้นที่ขีดขั้นระหว่างเธอกับไรวัต นายทหารหนุ่มแห่งกองทัพบกผู้ถึงพร้อมทั้งชาติตระกูล ทรัพย์สมบัติ และความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน ไรวัตรักมณีจันทร์มาก แต่รู้สึกว่าการกลับมาเมืองไทยคราวนี้มณีจันทร์แปลกไป เขารู้สึกว่าเธอมีคนอื่น ทำให้เขาร้อนรุ่มใจยิ่งนัก กระจกที่ได้มาทำให้มณีจันทร์เกิดเห็นภาพนิมิตหลายครั้งจากเงาสะท้อน แต่เธอก็บอกใครไม่ได้ เธอจึงไปคุยกับดร.ตรอง นักฟิสิกส์เพื่อนสนิทอีกคน ดร.ตรอง ยืนยันความเป็นไปได้ของการมองเห็นภาพในอดีต ทำให้มณีจันทร์มั่นใจวาสิ่งที่เกิดขึ้นกับเธอไม่ใช่เรื่องเหลวไหล
มณีจันทร์แน่ใจว่า กระจกเป็นสื่อจากเธอถึงเจ้าคุณอัครเทพวรากรในอดีต และรับภาพจากอดีตมาถึงเธอ ทุกวันเธอจดจ่ออยู่กับการหาหนทางให้ติดต่อกับภาพในอดีตนั้นได้ เพราะเธอรู้สึกว่าผู้ที่อยู่ไกลโพ้นในอดีตก็หวนหาเธออยู่เช่น กัน และด้วยกระแสจิตแห่งความผูกพันธ์ที่รุนแรง ทำให้กระจกเกิดพลานุภาพดึงมณีจันทร์หลุดเข้าไปสู่ห้วงแห่งกาลเวลาย้อนกลับไปสู่อดีต สู่ชายที่เธอเฝ้าใฝ่หามาตลอด ความผูกพันและใฝ่หากันค่อย ๆ สานตัวเป็นความรักที่อ่อนหวาน โดยทั้งสองฝ่ายไม่ต้องเอ่ยปากบอกรักกัน ซึ่งขณะนั้นเจ้าคุณอัครเทพวรากร ซึ่งขณะนั้นเป็นแค่เพียง หลวงอัครเทพวรากร ไม่เคยคิดถามหาหัวนอนปลายเท้าของดรุณีแรกรุ่นวัย ที่กำเนิดผู้ผุดขึ้นกลางเรือนชานผู้นี้เลย และยิ่งกว่านั้น ยังคิดปกป้องดูแลหนทางแห่งการ ไป-มา ของเธอให้สะดวกราบรื่นโดยไม่ให้ใครรู้เห็นอีกด้วย แต่ความก็แตกจนได้ เมื่อบ่าวไพร่สังเกตในความแปลกของนายจนเล่าลืออื้ออึงว่า นายเลี้ยงผี เมื่อม้วนบ่าวสาวได้ประจันหน้ากับผู้มาเยือนในห้องนอนของหลวงเทพ และในที่สุดคุณหญิงแสร์ มารดาผู้เฉลียวฉลาดของหลวงเทพ ได้ประจักษ์ด้วยตาตนเองว่ามีสาวน้อยนางหนึ่งมาเยือนบุตรชายของท่านโดยผ่านทางกระจก ความเชื่อปรัมปราทำให้คุณหญิงสรุปว่าสาวน้อยนั้นมาจาก "เมืองลับแล" ความน่ารักและอิริยาอาการและการพูดจาของมณีจันทร์ ผูกใจคุณหญิงและบ่าวไพร่ทั้งบ้านไว้ได้อีก ทุกคนรอคอยการมาเยี่ยมเยือนของเธอ และอาลัยทุกครั้งที่เธอกลับสู่ถิ่นฐานของตน การได้มาเยือนอดีตทำให้ มณีจันทร์ใฝ่ใจที่จะค้นคว้าช่วงเวลาที่เธอมาเยือนมากขึ้น และเมื่อยิ่งรู้ว่าปัญหาที่ยิ่งใหญ่ของประเทศ ในตอนนั้นคือ การที่ฝรั่งเศสคุกคามจะเอาดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง ซึ่งเป็นของไทยไปครอบครอง ปัญหานี้หลวงเทพต้องร่วมแก้ด้วย มณีจันทร์จึงยิ่งใฝ่ที่จะหาทางช่วยประเทศให้พ้นจากการล่าอาณานิคม
มณีจันทร์ใช้ความรู้ความสามารถทั้งหมดที่มี ช่วยงานหลวงเทพในงานของบ้านเมืองเท่าที่เธอจะช่วยได้ และเธอก็ได้แสดงความฉลาดเฉลียวสูงสุดให้ปรากฏ ในงานเลี้ยงทูตานุทูตข้าราชการชาวต่างประเทศ หลวงเทพปักใจว่าผู้หญิงคนนี้แหละที่เขาจะเลือกเป็นคู่ครองแทน แม่ประยงค์ สาวน้อยผู้งดงามอ่อนหวาน และวางตัวอยู่ในกรอบข่ายของขนบประเพณีทุกกระเบียดนิ้ว ซึ่งผู้ใหญ่ทั้งสองฝ่ายหมายไว้ให้แก่กัน หากแต่คุณหลวงจะมั่นใจได้อย่างไรว่า สาวน้อยผู้มาเยือนทางกระจกนั้นจะอยู่กับเขาได้ตลอดไป กระจกบานนั้นไม่เคยให้ความแน่นอนในการมาและไปของเธอ ไม่เคยให้ความมั่นใจว่า เธอจะอยู่ในภพของเขาได้นานเท่าที่เขาต้องการอยากให้อยู่ เขาต้องยอมจำนนกับกระจกบานนี้หรือไม่ หากคนสองคนหลวงเทพและมณีจันทร์จะประคองรักแท้ระหว่างกันให้ดำเนินต่อไปได้ คงต้องมีใครสละอะไรเพื่อรักแท้นั้นแน่นอน
ทวิภพ เป็นนวนิยายโดย ทมยันตี เป็นผู้ประพันธ์ ที่มาจาก http://drama.kapook.com/view28511.html

ช้างกับสายสัมพันธ์ทางประวัติศาสตร์ไทย-ศรีลังกา

ช้างกับสายสัมพันธ์ทางประวัติศาสตร์ไทย-ศรีลังกา
ไทยกับศรีลังกามีความสัมพันธ์แน่นแฟ้นยาวนานมานับเป็นพันปี นับตั้งแต่ครั้งพระพุทธศาสนานิกายสิงหลภิกขุหรือลัทธิลังกาวงศ์เข้ามาตั้งมั่นอยู่ในเมืองนครศรีธรรมราชเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 18 แล้วเผยแผ่ไปยังสุโขทัยในรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ครั้นต่อมาในรัชสมัยพระมหาธรรมราชาลิไท พระสงฆ์สุโขทัยเดินทางไปบวชยังสำนักสิงหลภิกขุในลังกา แล้วได้นำพระพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์เข้ามาเผยแผ่ในสุโขทัย จนทำให้สุโขทัยกลายเป็นศูนย์กลางแผ่ขยายนิกายนี้ไปยังล้านนาและอยุธยาในเวลาต่อมา
สถูปรุวันเวลิ เมืองอนุราธปุระ (ภาพโดย ปานวาด) ลัทธิลังกาวงศ์มีอิทธิพลสูงต่อหลักธรรมคำสอนในบวรพุทธศาสนา รวมไปถึงวัตรปฏิบัติ ตลอดจนธรรมเนียมหลายอย่างของพระสงฆ์ชาวสยาม นอกจากนี้อิทธิพลของลัทธิลังกาวงศ์ยังปรากฏให้เห็นในหลักฐานประเภทวัตถุธรรม เช่น งานศิลปกรรมแขนงต่างๆ รวมทั้งรูปทรงสถูปเจดีย์แบบระฆังกลมที่ไทยได้อิทธิพลไปจากศรีลังกา จนเรียกขานสถาปัตยกรรมนี้ว่า 'เจดีย์ทรงลังกา' ซึ่งนิยมสร้างสืบเนื่องเรื่อยมา จนกลายเป็นแบบแผนสิ่งก่อสร้างทางพระพุทธศาสนาที่สำคัญที่สุดแบบหนึ่งของไทย
ช้างล้อมรอบฐานสถูปรุวันเวลิ เมืองอนุราธปุระ นอกจากเจดีย์ทรงลังกาแล้ว รูปแบบสถาปัตยกรรมทางพระพุทธศาสนาที่ไทยรับมาจากลังกาอีกอย่างหนึ่ง คือการสร้าง 'เจดีย์ช้างล้อมรอบฐาน' พบอยู่ในหลายภูมิภาคของประเทศไทย อาทิเช่น เชียงใหม่ น่าน สุโขทัย กำแพงเพชร อยุธยา และพระมหาธาตุนครศรีธรรมราช ช้างเป็นสัตว์ที่อยู่คู่วัฒนธรรมชาวพุทธของศรีลังกามายาวนานเช่นเดียวกับสังคมไทย ชาวลังกาเชื่อว่าพระพุทธเจ้าในอดีตชาติทรงเคยเสวยพระชาติเป็นพญาคชสาร นอกจากนี้ช้างยังเป็นผู้ค้ำจุนพระพุทธศาสนาจึงเกิดธรรมเนียมการสร้างช้างหนุนที่รอบฐานพระสถูปเจดีย์ อย่างเช่นรุวันเวลิเสยา หรือเจดีย์รุวันเวลิ สถูปช้างล้อมซึ่งสร้างในรัชสมัยพระเจ้าทุฐฏคามนี กษัตริย์ลังกาสมัยอนุราธปุระ ราว พ.ศ.705 ตามประวัติกล่าวว่าพระองค์ทรงกระทำยุทธหัตถีต่อสู้กับพระเจ้าเอลาระกษัตริย์ชาวทมิฬจากอินเดียใต้ที่เข้ามายึดครองนครอนุราธปุระ ทรงมีชัยชนะเหนือกษัตริย์ชาวทมิฬ จึงได้สถาปนาพระสถูปช้างล้อมไว้เป็นพระบรมราชานุสรณ์ ราวต้นพุทธศตวรรษที่ 19 พระสงฆ์จากสุโขทัยกลุ่มหนึ่งภายใต้การนำของพระสุมนะ และพระอโนมทัสสีได้เดินทางไปยังเมืองพันซึ่งตั้งอยู่แถบเมาะตะมะในหัวเมืองมอญ สถานที่จำพรรษาของพระอุทุมพรมหาสวามี หัวหน้าคณะสงฆ์ฝ่ายลังกาวงศ์ซึ่งจำพรรษาอยู่ในรามัญประเทศ พระสงฆ์จากสุโขทัยได้ไปบวชใหม่ตามแบบสิงหลที่เมืองพัน และนำเอาพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์เข้ามาเผยแผ่ในสุโขทัย จนเกิดกระแสศรัทธาในพุทธศาสนานิกายนี้แพร่หลายไปในหมู่ชนชั้นนำและไพร่บ้านพลเมือง ไทยกับศรีลังกามีความสัมพันธ์อันดีเรื่อยมา กระทั่งถึงราวพุทธศตวรรษที่ 22 ศรีลังกาถูกรุกรานจากโปรตุเกส ต่อมาฮอลันดาได้ขับไล่โปรตุเกสออกไปและเข้าครอบครองพื้นที่หลายส่วนของศรีลังกาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 23 โดยบริษัทอินเดียตะวันออกของฮอลันดา หรือวีโอซี (VOC) พยายามขยายอิทธิพลยึดครองเมืองท่าริมทะเลของศรีลังกาเพื่อผลประโยชน์ด้านการค้า ฮอลันดาได้เข้ามาผูกขาดการค้าและควบคุมสินค้าหลายอย่างในศรีลังกา รวมทั้งช้างซึ่งเป็นสินค้าของป่าที่มีความสำคัญ
(ภาพเขียนคริสต์ศตวรรษที่ 17 แสดงถึงการจับและการค้าช้างของพ่อค้าฮอลันดาในศรีลังกา) ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 22-23 ช้างเป็นสินค้าที่ชาวชมพูทวีปต้องการมาก เนื่องจากเกิดสงครามระหว่างรัฐต่างๆ ในอินเดีย อันเป็นผลมาจากการขยายอิทธิพลของจักรพรรดิโมกุลที่พยายามยึดครองอินเดีย โดยทำสงครามรุกรานรัฐต่างๆ สงครามทำให้เกิดความต้องการช้างซึ่งเป็นยุทธปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่ง เมื่อช้างอินเดียมีจำนวนไม่พอกับความต้องการจึงต้องจัดหาช้างจากภูมิภาคอื่นเข้ามาทดแทน โดยเฉพาะช้างจากศรีลังกาและสยาม ดินแดนที่ตั้งอยู่ไม่ไกลจากอินเดียทั้งยังเป็นแหล่งที่มีช้างเหลือเฟือ ช่วงที่ฮอลันดายึดครองศรีลังกานั้น บริเวณคาบสมุทรจัฟนา (Jaffna) ทางตอนเหนือของศรีลังกาเป็นแหล่งลำเลียงช้างเพื่อส่งต่อไปขายยังอินเดีย จนพื้นที่ส่วนนี้ได้รับการขนานนามว่า 'Elephant Pass' โดยช้างลังกาส่งไปขายที่ชายฝั่งโคโรแมนเดลทางตะวันออกเฉียงใต้ของอินเดียและเบงกอลทางตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนช้างไทยส่งออกที่เมืองท่ามะริดและตะนาวศรีทางตะวันตกก่อนจะส่งต่อไปขายที่เบงกอล และชายฝั่งโคโรแมนเดล โดยเฉพาะที่เมืองมะสุลีปะตัม ทางตะวันออกเฉียงใต้ของอินเดีย ช้างไทยกับช้างศรีลังกาจึงกลายเป็นสินค้าที่ขายแข่งกันในตลาดอินเดีย การค้าช้างไทยและช้างลังกามีความได้เปรียบเสียเปรียบแตกต่างกัน ช้างศรีลังกามีคุณภาพด้อยกว่าช้างไทยเนื่องจากช้างศรีลังกาตัวเล็ก ไม่ค่อยแข็งแรงและฝึกยากกว่าช้างไทย เนื่องจากศรีลังกามีภูมิประเทศเป็นเกาะ พื้นที่หาอาหารของช้างไม่กว้างขวางนัก นอกจากนี้ช้างแต่ละโขลงมีโอกาสผสมพันธุ์กันเองจึงได้ลูกที่ไม่แข็งแรงเนื่องจากโอกาสรับลักษณะด้อยทางพันธุกรรมในหมู่ช้างมีมาก ส่วนสยามนั้นพื้นที่กว้างขวางเนื่องจากเป็นภาคพื้นทวีป ช้างมีโอกาสหาอาหารตามป่าได้หลายภูมิภาค อีกทั้งยังมีโอกาสผสมพันธุ์กับช้างโขลงอื่นๆ ที่มีอยู่ทั่วไป ช้างจึงมีความแข็งแรงสมบูรณ์ ฉลาด ฝึกฝนง่าย ในอีกด้านหนึ่งการค้าช้างของไทยนั้นราชสำนักเข้ามาควบคุมดูแลอย่างใกล้ชิดโดยผ่านทางพ่อค้ามุสลิมทำให้สินค้าเข้าถึงตลาดได้ง่ายเพราะมุสลิมเป็นผู้ควบคุมตลาดการค้าช้างในอินเดียเป็นส่วนใหญ่ ช้างลังกานั้นส่วนใหญ่ซื้อขายผ่านบริษัทของฮอลันดา ทำให้ขั้นตอนการค้าค่อนข้างยุ่งยาก พ่อค้ามุสลิมก็ไม่ค่อยชอบค้ากับชาวตะวันตกนัก ด้วยเหตุนี้ แม้ว่าช้างไทยจะมีราคาสูงกว่าช้างศรีลังกาแต่ก็ได้รับความนิยมมากกว่า เมื่อถึงปลายพุทธศตวรรษที่ 23 พระพุทธศาสนาในลังกาก็ถึงแก่ความเสื่อมโทรมเนื่องจากการขยายอิทธิพลของฮอลันดา และการขาดผู้ปกครองซึ่งเป็นศาสนูปถัมภกที่เข้มแข็ง กษัตริย์แห่งศรีลังกาจึงได้ส่งสมณทูตเดินทางเข้ามายังราชสำนักสมเด็จพระเจ้าบรมโกศเพื่อทูลขอพระสงฆ์ไปสืบทอดพระพุทธศาสนาตามแบบเถรวาทที่ลังกา ครั้งนั้นคณะทูตมีโอกาสเดินทางไปในกระบวนช้างเพื่อนมัสการพระพุทธบาทที่สระบุรี ต่อมาสมเด็จพระเจ้าบรมโกศทรงอาราธนาคณะสงฆ์สยาม มีพระราชาคณะคือ พระอุบาลี และพระอริยมุนี เป็นประธานออกไปอุปสมบทชาวสิงหลในลังกาทวีป จนเกิดเป็นคณะสงฆ์สยามวงศ์ขึ้น ทุกวันนี้ช้างมิได้เป็นสินค้าส่งออกของไทยและศรีลังกาอีกต่อไป เพราะจำนวนที่ลดน้อยลงไปมาก ช้างของทั้งสองประเทศกำลังเผชิญปัญหาเดียวกันคือความขาดแคลนแหล่งที่อยู่อาศัยและหากินเพราะป่าไม้ถูกบุกรุกทำลาย มนุษย์รุกล้ำพื้นที่เดิมของช้างและผลักดันช้างไปสู่หนทางตีบตัน อนาคตของสัตว์ที่อยู่คู่อารยธรรมไทยและศรีลังกามายาวนานอาจถึงจุดสุดท้ายภายในอีกไม่กี่สิบปีข้างหน้า เมื่อถึงวันนั้นคงเหลือแต่เพียงร่องรอยซากเจดีย์ไว้ให้ผู้คนได้รำลึกถึงคุณค่าของสัตว์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของทั้งสองชนชาติ ที่มาจาก ดร.จุฬิศพงศ์ จุฬารัตน์ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2550 http://www.artgazine.com/shoutouts/viewtopic.php?t=2200