วันเสาร์ที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2555

ประวัติศาสตร์ไทยในการเสียดินแดน

http://www.youtube.com/watch?v=s3OYY_hKcPA&feature=related

แม่ยายที่รัก

เรื่องย่อ แม่ยายที่รัก บทประพันธ์ กรุง ญ ฉัตร บทโทรทัศน์ คฑาหัสต์ บุษปะเกศ และ ภาคีสร้างสุข กำกับการแสดงโดย เมธี เจริญพงศ์ ดำเนินการสร้างโดย จริยา แอนโฟเน บริษัทเมกเกอร์ เจ กรุ๊ป จำกัด ออกอากาศทุกวันจันทร์-อังคาร เวลา 20.30 น.ทางช่อง 3 เริ่ม 13 มีนาคมนี้ เรื่องย่อ วันรบ ( ชาคริต แย้มนาม ) สถาปนิกหนุ่มหล่อเจ้าสำราญ มีสาวๆมาติดพันอยู่เป็นประจำ แต่ก็ไม่มีใครสามารถมัดใจเขาได้เท่ากับ มัทรี ( รณิดา เตชสิทธิ์ ) สถาปนิกสาวที่เต็มไปด้วยความน่ารัก เฉลียวฉลาด จนวันรบหมายปองว่า มัทรีคือแม่ของลูกเขาในอนาคต แต่วันรบมีอุปสรรคก็คือ มัทรีมีแม่ที่หวงลูกสาวทอย่าง ติรกา( ลลิตา ศศิประภา ) เจ้าของกิจการค้าโอ่งชื่อดังของราชบุรี จึงเกิดสงครามระหว่างว่าที่แม่ยายกับว่าที่ลูกเขย แต่วันรบก็ไม่ย่อท้อ ติรกาพยายามแยกลูกสาวออกมาโดยให้ ธงฉาน ( บรมวุฒิ หิรัณยัษฐิติ ) เศรษฐีจากราชบุรีเข้ามาจีบ แต่ไม่สำเร็จ วันรบเอาเรื่องกลุ้มในนี้ไปปรึกษากับ รชานนท์ ( สหรัถ สังคปรีชา ) เพื่อนรุ่นพี่สมัยมหาวิทยาลัยกับ พชร( จักรกฤษณ์ อำมะรัตน์ ) เจ้านายและมีศักดิ์เป็นพี่เขยของรชานนท์ ด้วยฤทธิ์แอลกอฮอล์ รุ่นพี่ทั้ง 2 จึงแนะนำให้รวบรัดมัทรี เมื่อไม่มีทางเลือก วันรบจึงต้องทำ วันรบวางยานอนหลับมัทรี เซ็ทแผนว่าเขากับมัทรีได้เสียกัน ติรกาโกรธมากเพราะเธอเคยมีอดีตฝังใจที่เคยพลาดตั้งท้องเมื่ออายุยังน้อย แต่ผู้ชายไม่รับผิดชอบ ตราบาปนั้นทำให้ติรกาเรียกสินสอดสิบล้านเพื่อยื้อเวลาหาทางแยกมัทรีออกจากวันรบ วันรบตกลงแต่ขอผ่อนชำระ วันรบได้กลับมาปรึกษารชานนท์กับพชรอีกครั้ง พชรยุให้รชานนท์จีบติรกา เมื่อครบกำหนดวันรบขอให้รชานนท์ไปเป็นเพื่อน เมื่อรชานนท์เจอหน้าติรกา เธอก็เอาปืนไล่ยิงวับรบและรชานนท์ วันรุ่งขึ้นรชานนท์กับวันรบกลับไปที่บ้านติรกาอีกครั้ง ครั้งนี้ไม่พลาด ติรกายิงรชานนท์จนหามส่งโรงพยาบาล ท่ามกลางความงุนงงของวันรบ มัทรี พชร นลินี (พิมลวรรณ หุ่นทองคำ ) พี่สาว เขาได้บอกความจริงกับทุกคนว่า เขาคือผู้ชายที่เคยรักกับติรกา และเขาสังหรณ์ใจว่า มัทรีคือลูกของเขา มัทรีตามไปถามความจริงจากแม่ ทั้งคู่ทะเลาะกันจนติรกาหลุดปากออกมาว่ารชานนท์คือคนที่ทำให้เธอท้องและทิ้งเธอไป มัทรีเจ็บปวดแทนแม่ ทำให้มัทรีไม่ยอมรับรชานนท์เป็นพ่อ ที่ราชบุรี ติรกามีสมภพ ( โจโจ้ ไมออกซิ ) นักธุรกิจหนุ่มใหญ่มาติดพันแต่เขามีครอบครัวแล้ว ติรกาแอบไปต่อรองกับรชานนท์ถึงบริษัท เพื่อให้เลิกเรียกร้องสิทธิ์ความเป็นพ่อกับมัทรี ทำให้ทั้งคู่มีปากเสียงกัน รุจี( พรรณชนิดา ศรีสำราญ )น้องเมียของสมภพเข้ามาเจอ เธอชอบรชานนท์ เมื่อเจอติรกาอยู่กับรชานนท์ก็เกิดหึง ทำให้ติรกาและรุจีปะทะกัน ติรกาออกจากบริษัทด้วยความฉุนเฉียว จึงถูกรถยนต์เฉี่ยวหัวกระแทกพื้นอย่างแรง เมื่อติรกาฟื้นขึ้นมาพร้อมอาการสูญเสียความทรงจำ รชานนท์ถือโอกาสบอกติรกาว่าเขากับเธอเป็นสามีภรรยากัน มัทรีพยายามรื้อฟื้นความทรงจำแม่เพราะไม่เห็นด้วยที่รชานนท์สวมรอยเป็นสามีตอนแม่ป่วย ติรกาย้ายไปอยู่บ้านรชานนท์พร้อมกับมัทรี วันทนีย์ ( ดารณีนุช โพธิปิติ ) แม่ของวันรบมาเยี่ยมลูกชาย วันทนีย์ไม่ชอบมัทรี เธอต้องการให้วันรบแต่งงานกับ กระถิน ( สุมนทิพย์ เหลืองอุทัย ) เด็กขัดดอกที่วันทนีย์ถูกใจ กระถินคอยแสดงตัวกับมัทรีว่าเป็นคู่หมายของวันรบ ทำให้มัทรีไม่พอใจและทะเลาะกับวันรบบ่อยครั้ง วันรบฉวยโอกาสแสร้งเล่าเรื่องความลำบากต้องอดออมเงินมาจ่ายค่าสินสอด ติรกาสงสารจึงยอมให้จัดพิธีแต่งานขึ้น ระหว่างพิธีหมั้น ขณะที่วันรบสวมแหวนให้มัทรี ความทรงจำของติรกาก็ผุดขึ้น เสียงกรี๊ดดังขึ้นก่อนที่เธอจะสลบไป ติรกาฟื้นขึ้นมา เค้นถามความจริงจากมัทรี มัทรีเล่าเรื่องให้ฟังทั้งหมด วันทนีย์โทรหาวันรบบอกเรื่องกระถินท้องกับเขา วันรบปฏิเสธ แต่มัทรีไม่เชื่อ แต่เขาก็พร้อมพิสูจน์ความจริง วันรบ มัทรี รชานนท์ ติรกา และ ธงฉาน ไปที่บ้านวันทนีย์ กระถินอ้ำอึงเมื่อถูกซักฟอกเรื่องเด็กในท้อง จนเธอสารภาพว่าพ่อของเด็กในท้องคือ กำนันเรือง( สุเทพ ประยูรพิทักษ์ ) พ่อของวันรบ คืนนั้นเองมีโจรเข้ามาปล้นบ้านวันรบ และจับตัวติรกากับรชานนท์ไปเรียกค่าไถ่ ในขณะที่ทุกคนไปทานข้าวนอกบ้านที่โกดังร้าง ติรกาจะถูกโจรปล้ำ รชานนท์ปกป้องติรกาว่าเธอคือภรรยาเขา โจรไม่เชื่อจึงขู่ฆ่าถ้ารู้ว่าทั้งคู่โกหก ติรกากลัวถูกฆ่าจึงยอมเป็นของรชานนท์ ทั้งคู่ปรับความเข้าใจกัน จนรู้ว่าพ่อของรชานนท์ปกปิดเรื่องติรกาตั้งท้อง ติรกาสัญญาว่าถ้ารอดกลับไปจะเริ่มต้นชีวิตใหม่ ซึ่งทั้งหมดเป็นไปตามแผนที่วันรบวางไว้ อีกวันวันรบให้กำนันเรืองพาคนไปช่วยติรกากับรชานนท์ และเขาก็สารภาพว่าวันที่เขามอมยามัทรี เข้าไม่ได้ล่วงเกินเธอเลย ทั้งหมดเป็นเพียงเพราะอยากหมั้นกับมัทรี ติรกาเริ่มเห็นความดีของวันรบ จึงยอมให้ทั้งคู่แต่งงานกัน รุจีเริ่มปฏิบัติการจับรชานนท์ด้วยการไปเฝ้าเอาใจถึงบริษัท ทำให้ติรกากับรชานนท์ทะเลาะกัน กระถินหนีออกจากบ้านมาของอยู่กับวันรบ แต่เขาไม่ยอม มัทรีสงสารจึงให้กระถินมาอยู่ด้วย กระถินคอยยุให้มัทรีกับวันรบเข้าใจผิดกัน มัทรีตั้งท้อง วันรบใจ และขยันทำงานเพื่อสร้างอนาคตให้ลูก แต่มัทรีถูกกระถินยุวเรื่องลูกค้าสาวสวย ทำให้ทั้งคู่ ทะเลาะกันบ่อยขึ้น ติรกาไม่อยากให้ความเครียดส่งผลถึงหลาน จึงชวนลูกสาวไปพักผ่อนที่บ้านราชบุรี
เมื่อสาวๆไม่อยู่ทั้ง 3 หนุ่มจึงถือโอกาสไปเที่ยว โดยไม่รู้เลยว่าธงฉานและสมภพแอบวางแผนถ่ายคลิปแล้วเอาไปให้ 2 แม่ลูกดู ติรกาเอาเรื่องมาบอกนลินี ทั้ง 3 สาวจึงวางแผนไปจับผิด แล้วก็เห็นทั้ง 3หนุ่มไปเที่ยวกันจึงเปิดฉากบู๊ มัทรีทะเลาะกับวันรบอย่างรุนแรงถึงขั้นหย่า แต่เขาไม่ยอม รุจียุวันรบว่าทั้งหมดเป็นแผนของสมภพกับติรกา เพื่อจะออกห่างรชานนท์ รชานนท์เสียใจบอกกับติรกาว่าเขาจะไปจากเธอเอง ติรกาเสียใจและทรุดจนเข้าโรงพยาบาล แต่เธอต้องตกใจว่าตนเองท้อง ติรกาปิดเรื่องนี้แล้วหนีไป นลินีเช็คข่าวจึงรู้ว่าติรกาท้อง จึงบอกมัทรีกับรชานนท์ เมื่อเจอติรกา เธอขอร้องไม่ให้ยุ่งเรื่องของเธอ สมภพยื่นข้อเสนอจะแต่งงานกับติรกา แต่ทรงสุดา( นฤมล พงษ์สุภาพ ) ภรรยาของสมภพได้ยินเข้า จึงเอาปืนมายิงทั้งสองคน
ที่มาhttp://www.newsplus.co.th/NewsDetail.php?id=40258

วันพฤหัสบดีที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2555

ประวั้ติศาสตร์ไทยสมัยรัตนโกสินทร์ หลังจากปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ ในปี พ.ศ. 2325 แล้ว สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกทรงใช้พระนามว่า "พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก" และได้ย้ายราชธานีจาก กรุงธนบุรีข้ามแม่น้ำเจ้าพระยามายังฝั่งตรงข้าม และตั้งชื่อราชธานีใหม่นี้ว่า "กรุงเทพมหานคร" พร้อมๆกับการสถาปนาราชวงศ์จักรีขึ้นมา พระองค์ทรงฟื้นฟูขวัญกำลังใจให้กับประชาชนที่ยังหวาดผวากับศึกพม่าเมื่อครั้ง สงคราวเสียกรุงศรีอยุธยา รวมทั้งตลอดสมัยกรุงธนบุรี ด้วยการนำแบบแผนต่างๆของ ราชสำนักอยุยามาใช้ รวมทั้งอัญเชิญพระพุทธรูปสำคัญมาไว้ที่กรุงเทพฯด้วย วัดพระศรีรัตนศาสดารามหรือวัดพระแก้ว เป็นแบบอย่างชัดเจนที่พระองค์ ทรงระดมช่างฝีมือซึ่งหลงเหลืออยู่ในเวลานั้นมาสร้างพระราชวังและพระอาราม ที่ยิ่งใหญ่แห่งนี้ เสมือนยกเอายุครุ่งเรืองของกรุงศรีอยุธยามาไว้ยังกรุงเทพฯ ในช่วงก่อร่างสร้างเมืองนี้สยามยังต้องผจญกับศึกสงครามรอบบ้านอยู่เสมอ รวมทั้งสงครามครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์การรบระหว่างสยามกับพม่าด้วย นั่นคือศึกที่เรียกว่า"สงครามเก้าทัพ" ซึ่งตรงกับรัชสมัยของพระเจ้าประดุง แห่งหงสาวดี กองทัพสยามสามารถขับไล่ทัพพม่าออกไปได้ในที่สุด หลังสงครามเก้าทัพพม่าต้องเผชิญหน้ากับประเทศนักล่าอาณานิคมอย่างอังกฤษ ทำให้สยามว่างเว้นศึกสงครามใหญ่ไปนาน รัชกาลที่1 มีพระราชดำริให้ฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมครั้งใหญ่ รวมทั้งการรวบรวทตำรับตำราจากหัวเมืองต่างๆ ที่รอดพ้นจากการถูกพม่าเผาเมื่อ ปี พ.ศ.2310 มาเก็บไว้ที่กรุงเทพฯ ในสมัยของพระองค์ได้มีการนำธรรมเนียมปฏิบัติของราชสำนักอยุธยามาใช้อย่างหนึ่งคือ มีการแต่งตั้งตำแหน่งอุปราชเสมืองเป็นกษัตริย์องค์ที่2 อุปราชองค์แรกแห่งกรุงรัตนโกสินทร์คือ กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท ซึ่งประทับอยู่ที่วังหน้า คนสยามจึงมักเรียกตำแหน่งอุปราชว่า "วังหน้า" สำหรับพระราชวังหน้านั้นปัจจุบันคือบริเวณมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ โรงละครแห่งชาติ และวิทยาลัยนาฏศิลป์นั่นเอง รวมทั้งพื้นที่ประมาณครึ่งหนึ่งของท้องสนามหลวงก็เคยเป็นอาณาบริเวณของ วังหน้ามาก่อน เวลามีการก่อสร้างต่างๆบริเวณนี้เมื่อขุดลงไปในดินจึงมักพบ โบราณวัตถุหลายอย่าง โดยเฉพาะปืนใหญ่แบบโบราณ มีการขุดได้บริเวณนี้ หลายกระบอก พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (พ.ศ. 2352-2367) พระราชโอรสองค์ โตได้ครองราชสมบัติสืบมาเป็นรัชกาลที่2 พระองค์ทรงใฝ่พระทัยในศิลปวัฒนธรรมมาก ทั้งทางด้านวิจิตรศิลป์ และวรรณคดี พระองค์ได้รับการยกย่องว่าเป็นกษัตริย์ผู้เป็นอัครศิลปิน ทรงสร้างและบูรณะวัดวาอารามจำนานมาก ที่สำคัญที่สุดคือโปรดเกล้าฯให้บูรณะ วัดสลักใกล้พระราชวังเดิมฝั่งธนบุรี จนยิ่งใหญ่สวยสง่ากลายเป็นวักประจำรัชกาลของพระองค์และพระราชทานนามว่า "วัดอรุณราชวรารามมหาวิหาร" ความเป็นศิลปินเอกของพระองค์เห็นได้จากการที่พระองค์ทรงแกะสลักบานประตู หน้าวัดสุทัศน์ฯด้วยพระองค์เอง ผลงานอันวิจิตรชิ้นนี้ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติกรุงเทพฯ นอกจากฝีพระหัตถ์เชิงช่างแล้ว รัชกาลที่2ยังทรงพรัอัจฉริยภาพในทางกวีด้วย พระราชนิพนธ์ชิ้นสำคัญของพระองค์ บทละครเรื่อง อิเหนา และ รามเกียรติ์ นอกจากทรงพระราชนิพนธ์ด้วยพระองค์เองแล้ว ยังได้ชื่อว่าเป็นองค์อุปถัมภ์ บรรดาศิลปินและกวีด้วย ยุคนี้จึงเรียกได้ว่าเป็นยุคสมัยที่กวีรุ่งเรืองที่สุด กวีเอกที่ปรากฏในรัชกาลของพระองค์คือ พระศรีสุนทรโวหาร(ภู่) ที่คนไทย ทั่วๆไปเรียกว่า "สุนทรภู่" ในด้านการต่างประเทศ พระองค์ทรงได้เริ่มฟื้นฟูความสัมพันธ์กับประเทศตะวันตก ใหม่หลังจากหยุดชะงักไปตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช โดยมีพระบรมราชานุญาตให้โปรตุเกตุเข้ามาตั้งสถานฑูตได้เป็นชาติแรก กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ ได้ครอง ครองราชสมบัติต่อจากพระบิดา ทรงพระนามว่า พระบาทสมเด็จพระ นั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. 2367-2394) ทรงมีความเชี่ยวชาญในการค้า ขายกับต่างประเทศมาก โดยเฉพาะกับประเทศจีน ในรัฐสมัยของพระ องค์ ราชสำนักสยามและจีนมีสัมพันธภาพที่แน่นแฟ้น สยามแต่ง สำเภาเดินทางไปค้าขายกับจีนปีละมากลำ ยุคสมัยของพระองค์นับ เป็นยุคทองของการค้าขาย ทรงทำให้เศรษฐกิจของประเทศมั่งคั่งขึ้น เงินทองเต็มท้องพระคลัง และทรงเก็บพระราชทรัพย์บางส่วนไว้ใน ถุง้า แดง ซุกซ่อนไว้ตามบัลลังก์ ซึ่งในเวลาต่อมาทรัพย์ในถุงแดงนี้มีส่วน ในการกู้ชาติสยาม รัชกาลที่ 3 เป็นกษัตริย์ผู้ทรงเคร่งครัดในศาสนาพุทธ ชาว ตะวันตกมักมองว่าพระองค์ ตึงและต่อต้าน ศาสนาอื่น แม้กระนั้นก็ ทรงอนุญาตให้มิชชั่นนารีจากอเมริกานำการแพทย์แผนตะวันตกเข้า มาเผยแพร่ได้ ความจริงในสมัยรัชกาลที่ 3 ประเทศสยามต้องรับบรรดาทูตต่างๆจากชาติตะวันตกที่เข้ามาทำ สัญญาทางการค้าบ้างแล้ว โดยเฉพาะการมาถึงของ เซอร์จอห์น เบาริ่ ง จากอังกฤษที่เข้ามาทำ สัญญาเบาริ่ง อันส่งผลอย่างใหญ่หลวงต่อง้า ประเทศสยามในเวลาต่อมา อย่างไรก็ตามผลจากการเปิดประเทศมา ปรากฏอย่างเด่นชัดในสมัย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ซึ่งทรงสนพระทัยในศิลปวิทยาการของตะวันตกมาก พระ องค์ทรงศึกษาวิชาการต่างๆ อย่างแตกฉาน ทรงเข้าใจภาษาบาลีเป็น อย่างดีตั้งแต่ครั้งที่ออกผนวชเป็นเวลาถึง 27 พรรษาก่อนทรงขึ้นครอง ราชย์ ส่วนภาษาอังกฤษนั้นทรงได้เรียนกับมิชชันนารีจนสามารถตรัส ได้เป็นอย่างดี นกจากนี้ยังมีความรู้ในวิทยาศาสตร์แขนงต่างๆโดย เฉพาะดาราศาสตร์ ในยุคสมัยของพระองค์ขนบธรรมเนียมต่างๆ ในราชสำนักได้ เปลี่ยนไปมาก เช่น การแต่งกายเข้าเฝ้าของขุนนาง ทรงให้สวมเสื้อผ้า แบบตะวันตกแทนที่จะเปลือยท่อนบนเช่นสมัยก่อน หรือยกเลิก ประเพณีหมอบคลาน เป็นต้น ส่วนในด้านการศาสนานั้นทรงตั้งนิกาย นิกายธรรมยุติ ขึ้นมา ซึ่งเป็นการเริ่มต้นการรวมอำนาจของคณธสงฆ์ซึ่งเคยกระจัดกระจาย ทั่วประเทศให้เขามาอยู่ที่ส่วนกลาง พระองค์นับว่าทรงเป็นกษัตริย์ผู้มี วิสัยทัศน์ยาวไกล และทรงตระหนักถึงภัยจากลัทธิล่าอาณานิคมของ ประเทศตะวันตกซึ่งในเวลานั้นเข้ายึดครองประเทศเพื่อนบ้านของ สยามจนหมดสิ้นแล้ว พระองค์ทรงมีพระราชดำริว่า ความเข้มแข็งแบบ ตะวันออกของสยามไม่สามารถช่วยให้ประเทศรอดพ้นจากการตกเป็น อาณานิคมได้ จึงทรงเน้นให้ประเทศสยามพัฒนาให้ทันสมัยเพื่อลด ความขัดแย้งกับชาติตวันตก ยุคสมัยนี้กล่าวได้ว่าประเทศสยามเริ่มหันทิศทางไปสู่ตะวัน ตกแทนที่จะแข็งขืนอย่างประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งถึงที่สุดแล้วก็ไม่อาจสู้ ความได้เปรยบทางเทคโนโลยีของชาติตะวันตกได้ ในราชสำนักทรง จ้างครูฝรั่งมาสอนภาษาให้แก่พระราชโอรสและพระราชะดา ส่วนภาย นอกมีชาวต่างประเทศจำนวนมากที่มาประกอบกิจการในมืองสยาม สมัยนี้มีหนังสือพิมพ์ภาษาไทยออกมาเป็นครั้งแรก นั่นคือ บางกอกรี คอดเดอร์ ของหมอบัดเลย การทำสนธิสัญญาทางการค้ากับประเทศตะวันตกทำให้ สยามต้องสูญเสีย สิทธิสภาพนอกอาณาเขต อังกฤษเป็นชาติแรกๆที่ ได้ประโยชน์สยามสามารถเก็บภาษีจากสินค้าของพ่อค้าอังกฤษได้ เพียงร้อยละ 3 และอังกฤษสามารถนำเข้าฝิ่นจากอินเดียได้โดยเสรี รวมทั้งสัญญาระบุให้สยามยกเบิกการผูกขาดการค้าข้าวโดยราช สำนัก ทำให้ข้าวกลายเป็นสินค้าออกที่สำคัญของสยามมานับศตวรรษ ต่อมาสยามก็ต้องทำสัญญาเช่นนี้กับชาติตะวันตกอื่นๆอีก ความสนใจในวิทยาศาสตร์โดยเฉพาะด้านดาราศาสตร์เป็น เหตุให้พระองค์ต้องสวรรคต ในปี พ.ศ. 2411 ทรงคำนวณได้ว่าจะเกิด สุริยุปราคาเต็มดวงที่หว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จึงเสด็จฯไปดู พร้อมกับเชิญคณะทูตานุทูตตามเสด็จไปชมด้วย แม้จะเป็นเรื่องที่ทำ ให้พระองค์ได้รับการยกย่องจากชาวตะวันตกมาก เพราะในเวลานั้น แม้แต่นักวิทยาศาสตร์ชาติตะวันตกก็มีเพียงไม่กี่คนที่สามารถคำนวณ การกิดสุรุยุปราคาได้อย่างแม่นยำ แต่กการเสด็จฯไปหว้ากอครั้งนั้น เป็นเหตุให้พระองค์ประชวรด้วยไข้มาลาเรีย และเสด็จสวรรคตในอีก สองสัปดาห์ต่อมา เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ พระราชโอรส ของรัชกาลที่ 4 ขึ้นครองราชย์เป็นพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้า อยู่หัว ด้วยพระชนมายุเพียง 15 ชันษา พระองค์ทรงขึ้นครองราชย์ใน ยุคสมัยที่บ้านเมืองจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลง และทรงต้องเผชิญกับการ กดดันจากหลายด้าน ทั้งฐานอำนาจของกลุ่มวังหน้าและฝ่ายขุนนางที่ นำโดยสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ ผู้สำเร็จราชการแทนพระ องค์ ในขณะที่แรงกดดันจากประเทศนักล่าอาณานิคม ก็มิได้ลดละ แต่ โชคดีที่พระองค์รวมทั้งพระประยูรญาติได้รับการปูพื้นฐานมาเป็น อย่างดี ในสมัยของพระองค์บรรดาขุนนางต่างพระเนตรพระกรรณที่ พระองค์มีพระบรมราชโองการ อยู่เสมอก็คือพระอนุชาของพระองค์ เป็นส่วนใหญ่ ขุนนางซึ่งมีบทบาทอย่างมากในสมัยนี้ก็คือ กรมพระยา ดำรงราชานุภาพ กรมพระยาเทววงศ์วโรปกรณ์ กรมหลวงประจักษ์ ศิลปคม เป็นต้น ซึ่งล้วนเป็นพระอนุชาของพระองค์ทั้งสิ้น ในยุคสมัยนี้มีการเปลี่ยนแปลง ครั้งสำคัญในประเทศสยาม พระองค์ถือเป็นกษัตริย์ที่ทรงปฏิรูปสังคมครั้งใหญ่ ทรงยกเลิกระบบ ทาสและการเกณฑ์แรงงานไพร่ หันมาใช้ระบบเก็บส่วนภาษีแทน ทรง ปฏิรูประบบการปกครองส่วนภูมิภาค ด้วยการยกเลิกระบบประเทศราช และเจ้าครองนครเปลี่ยนผู้บริหารเป็นสมุหเทศาภิบาลซึ่งเป็นข้าราช การที่ส่งไปจากส่วนกลาง การเปลี่ยนแปลงนี้ส่งผลให้ประเทศสยาม เป็นปึกแผ่นอย่างไม่เคยเป็นมาก่อนนับแต่สถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ การเตรียมพร้อมของพระองค์ต่อการคุกคามโดยประเทศ ตะวันตกนั้น ทรงส่งพระราชโอรสไปศึกษา ณ ดินแดนยุโรป โดยเฉพาะ ในประเทศรัสเซียและปรัสเซีย ทั้งเพื่อเตรียมคนไว้เพื่ออนาคต และเป็น การผูกสัมพันธ์กับราชสำนักยุโรป เพื่อถ่วงดุลอำนาจของอังกฤษและ ฝรั่งเศสที่ในเวลานั้นกำลังล่าอาณานิคมในภูมิภาคเอเซียอยู่ ในปี พ.ศ. 2435 ทรงตั้งกระทรวงเพิ่มขึ้นจาก 4 เป็น 12 กระทรวง บางกระทรวงก็ทรงแต่งตั้งพระอนุชาเป็นเสนาบดี บาง กระทรวงที่ต้องติดต่อสัมพันธ์กับต่างประเทศก็ทรงจ้างผู้เชี่ยวชาญชาว ตะวันตกเป็นเสนาบดี รัชสมัยของพระองค์มีชาวตะวันตกเข้ามารับใช้ ประเทศสยามจำนวนมาก หลายท่านยังคงมีลูกหลานสืบสกุลในเมือง ไทยจนปัจจุบัน ครั้นพระราชโอรสของพระองค์สำเร็จการศึกษาจากยุ โรปแล้วก็ได้เข้ามาเป็นกำลังในการปรับปรุงโครงสร้างการบริหารครั้ง ใหญ่ โดยเฉพาะเป็นกำลังในการสร้างกองทัพบกและกองทัพเรือให้มี ความทันสมัยอย่างตะวันตก ในสมัยนี้ประเทศสยามต้องเผชิญกับการบีบคั้นโดยชาติ มหาอำนาจอย่างอังกฤษและฝรั่งเศส ทำให้สยามจำต้องเสียดินแดน ให้แก่มหาอำนาจทั้งสองไปเป็นจำนวนมากเพื่อแลกกกับเอกราชของประเทศ เมื่อฝรั่งเศสเข้าครอบครองเวียดนามในปี พ.ศ. 2426 และ อังกฤษยึดครองมลายูและพม่าส่วนบนได้ในปี พ.ศ. 2429 ทำให้สยาม ตกอยู่ในสถานการณ์ลำบาก ต่อมาฝรั่งเศสส่งเรือรบมาปิดล้อมอ่าว ไทย ทำให้ต้องยอมเสียลาวและกัมพูชาให้ฝรั่งเศสไป ขณะเดียวกันก็ ต้องยำดินแดนทางภาคใต้ได้แก่ ปะลิส กลันตัน ตรังกานู ไทรบุรี ดิน แดน ติดพม่าได้แก่ มะริด ทวาย ตะนาวศรี และดินแดนหัวเมืองเงี้ยว ในภาคเหนือให้แก่ประเทศอังกฤษ รวมแล้วสยามต้องเสียดินแดนให้ มหาอำนาจทั้งสองถึง 120,000 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณครึ่ง หนึ่งของประเทศไทยในปัจจุบัน นอกจากต้องเสียดินแดนแล้วยังต้องจ่ายค่าปรับให้กับ ประเทศเหล่านั้นด้วย จึงต้องใช้เงินใน ถุงแดง ซึ่งรัชกาลที่ 3 เก็บซุก ซ่อนไว้นำมาจ่ายให้มหาอำนาจเหล่านั้น รัชกาลที่ 5 เคยเสด็จประพาสยุโรปถึงสองครั้งในปี พ.ศ. 2440 และ พ.ศ. 2450 เพื่อเป็นการผูกสัมพันธไมตรีกับราชสำนักต่างๆในยุ โรปให้แน่นแฟ้นขึ้น ในรัชสมัยของพระองค์กล่าวได้ว่าสยามประเทศมีการพัฒนา อย่างก้าวกระโดด แม้จะต้องเสียเงินทองมากมายให้แก่มหาอำนาจ แต่เศรษฐกิจของสยามก็เฟื่องฟูโดยเฉพาะหากเทียบกับประเทศเอเซีย อื่นๆ หลังจากพระองค์เสด็จสวรรคต ปวงชนชาวไทยจึงพร้อมใจกัน ถวายพระสมัญนามแด่พระองค์ว่า พระปิยมหาราช ซึ่งหมายถึง กษัตริย์ทรงเป็นที่รักยิ่ง เจ้ามหาวชิราวุธ โอรสของรัชกาลที่ 5 ขึ้นครองราชสมบัติต่อมา เป็นสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น