วันพุธที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

การตั้งถิ่นฐานของชนชาติไทยในประเทศไทย



ทีมา http://www.youtube.com/watch?v=3OW6gv98ozM&feature=related

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย



ทีมา http://www.youtube.com/watch?v=_s_WkPTzzrQ&feature=related

ประวัติธงชาติไทย



ทีมา http://www.youtube.com/watch?v=Bn435uFMCLQ&feature=related

ประวัติศาสตร์ไทย สมัยรัตนโกสินทร์


หลังจากปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ ในปี พ.ศ. 2325 แล้ว สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกทรงใช้พระนามว่า "พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก" และได้ย้ายราชธานีจาก กรุงธนบุรีข้ามแม่น้ำเจ้าพระยามายังฝั่งตรงข้าม และตั้งชื่อราชธานีใหม่นี้ว่า "กรุงเทพมหานคร" พร้อมๆกับการสถาปนาราชวงศ์จักรีขึ้นมา

พระองค์ทรงฟื้นฟูขวัญกำลังใจให้กับประชาชนที่ยังหวาดผวากับศึกพม่าเมื่อครั้ง สงคราวเสียกรุงศรีอยุธยา รวมทั้งตลอดสมัยกรุงธนบุรี ด้วยการนำแบบแผนต่างๆของ ราชสำนักอยุยามาใช้ รวมทั้งอัญเชิญพระพุทธรูปสำคัญมาไว้ที่กรุงเทพฯด้วย วัดพระศรีรัตนศาสดารามหรือวัดพระแก้ว เป็นแบบอย่างชัดเจนที่พระองค์ ทรงระดมช่างฝีมือซึ่งหลงเหลืออยู่ในเวลานั้นมาสร้างพระราชวังและพระอาราม ที่ยิ่งใหญ่แห่งนี้ เสมือนยกเอายุครุ่งเรืองของกรุงศรีอยุธยามาไว้ยังกรุงเทพฯ
ในช่วงก่อร่างสร้างเมืองนี้สยามยังต้องผจญกับศึกสงครามรอบบ้านอยู่เสมอ รวมทั้งสงครามครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์การรบระหว่างสยามกับพม่าด้วย นั่นคือศึกที่เรียกว่า"สงครามเก้าทัพ" ซึ่งตรงกับรัชสมัยของพระเจ้าประดุง แห่งหงสาวดี กองทัพสยามสามารถขับไล่ทัพพม่าออกไปได้ในที่สุด หลังสงครามเก้าทัพพม่าต้องเผชิญหน้ากับประเทศนักล่าอาณานิคมอย่างอังกฤษ ทำให้สยามว่างเว้นศึกสงครามใหญ่ไปนาน

รัชกาลที่1 มีพระราชดำริให้ฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมครั้งใหญ่ รวมทั้งการรวบรวทตำรับตำราจากหัวเมืองต่างๆ ที่รอดพ้นจากการถูกพม่าเผาเมื่อ ปี พ.ศ.2310 มาเก็บไว้ที่กรุงเทพฯ

ในสมัยของพระองค์ได้มีการนำธรรมเนียมปฏิบัติของราชสำนักอยุธยามาใช้อย่างหนึ่งคือ มีการแต่งตั้งตำแหน่งอุปราชเสมืองเป็นกษัตริย์องค์ที่2 อุปราชองค์แรกแห่งกรุงรัตนโกสินทร์คือ กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท ซึ่งประทับอยู่ที่วังหน้า คนสยามจึงมักเรียกตำแหน่งอุปราชว่า "วังหน้า"

สำหรับพระราชวังหน้านั้นปัจจุบันคือบริเวณมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ โรงละครแห่งชาติ และวิทยาลัยนาฏศิลป์นั่นเอง รวมทั้งพื้นที่ประมาณครึ่งหนึ่งของท้องสนามหลวงก็เคยเป็นอาณาบริเวณของ วังหน้ามาก่อน เวลามีการก่อสร้างต่างๆบริเวณนี้เมื่อขุดลงไปในดินจึงมักพบ โบราณวัตถุหลายอย่าง โดยเฉพาะปืนใหญ่แบบโบราณ มีการขุดได้บริเวณนี้ หลายกระบอก

รัชกาลที่ 2 ยุคทองของศิลปรัตนโกสินทร์ :พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (พ.ศ. 2352-2367) พระราชโอรสองค์ โตได้ครองราชสมบัติสืบมาเป็นรัชกาลที่2 พระองค์ทรงใฝ่พระทัยในศิลปวัฒนธรรมมาก ทั้งทางด้านวิจิตรศิลป์ และวรรณคดี พระองค์ได้รับการยกย่องว่าเป็นกษัตริย์ผู้เป็นอัครศิลปิน ทรงสร้างและบูรณะวัดวาอารามจำนานมาก ที่สำคัญที่สุดคือโปรดเกล้าฯให้บูรณะ วัดสลักใกล้พระราชวังเดิมฝั่งธนบุรี จนยิ่งใหญ่สวยสง่ากลายเป็นวักประจำรัชกาลของพระองค์และพระราชทานนามว่า "วัดอรุณราชวรารามมหาวิหาร"

ความเป็นศิลปินเอกของพระองค์เห็นได้จากการที่พระองค์ทรงแกะสลักบานประตู หน้าวัดสุทัศน์ฯด้วยพระองค์เอง ผลงานอันวิจิตรชิ้นนี้ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติกรุงเทพฯ นอกจากฝีพระหัตถ์เชิงช่างแล้ว รัชกาลที่2ยังทรงพรัอัจฉริยภาพในทางกวีด้วย พระราชนิพนธ์ชิ้นสำคัญของพระองค์ บทละครเรื่อง อิเหนา และ รามเกียรติ์

นอกจากทรงพระราชนิพนธ์ด้วยพระองค์เองแล้ว ยังได้ชื่อว่าเป็นองค์อุปถัมภ์ บรรดาศิลปินและกวีด้วย ยุคนี้จึงเรียกได้ว่าเป็นยุคสมัยที่กวีรุ่งเรืองที่สุด กวีเอกที่ปรากฏในรัชกาลของพระองค์คือ พระศรีสุนทรโวหาร(ภู่) ที่คนไทย ทั่วๆไปเรียกว่า "สุนทรภู่"

ในด้านการต่างประเทศ พระองค์ทรงได้เริ่มฟื้นฟูความสัมพันธ์กับประเทศตะวันตก ใหม่หลังจากหยุดชะงักไปตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช โดยมีพระบรมราชานุญาตให้โปรตุเกตุเข้ามาตั้งสถานฑูตได้เป็นชาติแรก



รัชกาลที่ 3 ยุคพ่อค้าวาณิช : กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ ได้ครอง ครองราชสมบัติต่อจากพระบิดา ทรงพระนามว่า พระบาทสมเด็จพระ นั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. 2367-2394) ทรงมีความเชี่ยวชาญในการค้า ขายกับต่างประเทศมาก โดยเฉพาะกับประเทศจีน ในรัฐสมัยของพระ องค์ ราชสำนักสยามและจีนมีสัมพันธภาพที่แน่นแฟ้น สยามแต่ง สำเภาเดินทางไปค้าขายกับจีนปีละมากลำ ยุคสมัยของพระองค์นับ เป็นยุคทองของการค้าขาย ทรงทำให้เศรษฐกิจของประเทศมั่งคั่งขึ้น เงินทองเต็มท้องพระคลัง และทรงเก็บพระราชทรัพย์บางส่วนไว้ใน ถุง้า แดง ซุกซ่อนไว้ตามบัลลังก์ ซึ่งในเวลาต่อมาทรัพย์ในถุงแดงนี้มีส่วน ในการกู้ชาติสยาม
รัชกาลที่ 3 เป็นกษัตริย์ผู้ทรงเคร่งครัดในศาสนาพุทธ ชาว ตะวันตกมักมองว่าพระองค์ ตึงและต่อต้าน ศาสนาอื่น แม้กระนั้นก็ ทรงอนุญาตให้มิชชั่นนารีจากอเมริกานำการแพทย์แผนตะวันตกเข้า มาเผยแพร่ได้
การเปิดประเทศในรัชกาลที่ 4 : ความจริงในสมัยรัชกาลที่ 3 ประเทศสยามต้องรับบรรดาทูตต่างๆจากชาติตะวันตกที่เข้ามาทำ สัญญาทางการค้าบ้างแล้ว โดยเฉพาะการมาถึงของ เซอร์จอห์น เบาริ่ ง จากอังกฤษที่เข้ามาทำ สัญญาเบาริ่ง อันส่งผลอย่างใหญ่หลวงต่อง้า ประเทศสยามในเวลาต่อมา อย่างไรก็ตามผลจากการเปิดประเทศมา ปรากฏอย่างเด่นชัดในสมัย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ซึ่งทรงสนพระทัยในศิลปวิทยาการของตะวันตกมาก พระ องค์ทรงศึกษาวิชาการต่างๆ อย่างแตกฉาน ทรงเข้าใจภาษาบาลีเป็น อย่างดีตั้งแต่ครั้งที่ออกผนวชเป็นเวลาถึง 27 พรรษาก่อนทรงขึ้นครอง ราชย์ ส่วนภาษาอังกฤษนั้นทรงได้เรียนกับมิชชันนารีจนสามารถตรัส ได้เป็นอย่างดี นกจากนี้ยังมีความรู้ในวิทยาศาสตร์แขนงต่างๆโดย เฉพาะดาราศาสตร์

ในยุคสมัยของพระองค์ขนบธรรมเนียมต่างๆ ในราชสำนักได้ เปลี่ยนไปมาก เช่น การแต่งกายเข้าเฝ้าของขุนนาง ทรงให้สวมเสื้อผ้า แบบตะวันตกแทนที่จะเปลือยท่อนบนเช่นสมัยก่อน หรือยกเลิก ประเพณีหมอบคลาน เป็นต้น

ส่วนในด้านการศาสนานั้นทรงตั้งนิกาย นิกายธรรมยุติ ขึ้นมา ซึ่งเป็นการเริ่มต้นการรวมอำนาจของคณธสงฆ์ซึ่งเคยกระจัดกระจาย ทั่วประเทศให้เขามาอยู่ที่ส่วนกลาง พระองค์นับว่าทรงเป็นกษัตริย์ผู้มี วิสัยทัศน์ยาวไกล และทรงตระหนักถึงภัยจากลัทธิล่าอาณานิคมของ ประเทศตะวันตกซึ่งในเวลานั้นเข้ายึดครองประเทศเพื่อนบ้านของ สยามจนหมดสิ้นแล้ว พระองค์ทรงมีพระราชดำริว่า ความเข้มแข็งแบบ ตะวันออกของสยามไม่สามารถช่วยให้ประเทศรอดพ้นจากการตกเป็น อาณานิคมได้ จึงทรงเน้นให้ประเทศสยามพัฒนาให้ทันสมัยเพื่อลด ความขัดแย้งกับชาติตวันตก

ยุคสมัยนี้กล่าวได้ว่าประเทศสยามเริ่มหันทิศทางไปสู่ตะวัน ตกแทนที่จะแข็งขืนอย่างประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งถึงที่สุดแล้วก็ไม่อาจสู้ ความได้เปรยบทางเทคโนโลยีของชาติตะวันตกได้ ในราชสำนักทรง จ้างครูฝรั่งมาสอนภาษาให้แก่พระราชโอรสและพระราชะดา ส่วนภาย นอกมีชาวต่างประเทศจำนวนมากที่มาประกอบกิจการในมืองสยาม สมัยนี้มีหนังสือพิมพ์ภาษาไทยออกมาเป็นครั้งแรก นั่นคือ บางกอกรี คอดเดอร์ ของหมอบัดเลย

การทำสนธิสัญญาทางการค้ากับประเทศตะวันตกทำให้ สยามต้องสูญเสีย สิทธิสภาพนอกอาณาเขต อังกฤษเป็นชาติแรกๆที่ ได้ประโยชน์สยามสามารถเก็บภาษีจากสินค้าของพ่อค้าอังกฤษได้ เพียงร้อยละ 3 และอังกฤษสามารถนำเข้าฝิ่นจากอินเดียได้โดยเสรี รวมทั้งสัญญาระบุให้สยามยกเบิกการผูกขาดการค้าข้าวโดยราช สำนัก ทำให้ข้าวกลายเป็นสินค้าออกที่สำคัญของสยามมานับศตวรรษ ต่อมาสยามก็ต้องทำสัญญาเช่นนี้กับชาติตะวันตกอื่นๆอีก ความสนใจในวิทยาศาสตร์โดยเฉพาะด้านดาราศาสตร์เป็น เหตุให้พระองค์ต้องสวรรคต ในปี พ.ศ. 2411 ทรงคำนวณได้ว่าจะเกิด

สุริยุปราคาเต็มดวงที่หว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จึงเสด็จฯไปดู พร้อมกับเชิญคณะทูตานุทูตตามเสด็จไปชมด้วย แม้จะเป็นเรื่องที่ทำ ให้พระองค์ได้รับการยกย่องจากชาวตะวันตกมาก เพราะในเวลานั้น แม้แต่นักวิทยาศาสตร์ชาติตะวันตกก็มีเพียงไม่กี่คนที่สามารถคำนวณ การกิดสุรุยุปราคาได้อย่างแม่นยำ แต่กการเสด็จฯไปหว้ากอครั้งนั้น เป็นเหตุให้พระองค์ประชวรด้วยไข้มาลาเรีย และเสด็จสวรรคตในอีก สองสัปดาห์ต่อมา

การปฏิรูปในสมัยรัชกลที่ 5 : เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ พระราชโอรส ของรัชกาลที่ 4 ขึ้นครองราชย์เป็นพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้า อยู่หัว ด้วยพระชนมายุเพียง 15 ชันษา พระองค์ทรงขึ้นครองราชย์ใน ยุคสมัยที่บ้านเมืองจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลง และทรงต้องเผชิญกับการ กดดันจากหลายด้าน ทั้งฐานอำนาจของกลุ่มวังหน้าและฝ่ายขุนนางที่ นำโดยสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ ผู้สำเร็จราชการแทนพระ องค์ ในขณะที่แรงกดดันจากประเทศนักล่าอาณานิคมก็มิได้ลดละ แต่ โชคดีที่พระองค์รวมทั้งพระประยูรญาติได้รับการปูพื้นฐานมาเป็น อย่างดี ในสมัยของพระองค์บรรดาขุนนางต่างพระเนตรพระกรรณที่ พระองค์มีพระบรมราชโองการอยู่เสมอก็คือพระอนุชาของพระองค์ เป็นส่วนใหญ่ ขุนนางซึ่งมีบทบาทอย่างมากในสมัยนี้ก็คือ กรมพระยา ดำรงราชานุภาพ กรมพระยาเทววงศ์วโรปกรณ์ กรมหลวงประจักษ์ ศิลปคม เป็นต้น ซึ่งล้วนเป็นพระอนุชาของพระองค์ทั้งสิ้น ในยุคสมัยนี้มีการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญในประเทศสยาม พระองค์ถือเป็นกษัตริย์ที่ทรงปฏิรูปสังคมครั้งใหญ่ ทรงยกเลิกระบบ ทาสและการเกณฑ์แรงงานไพร่ หันมาใช้ระบบเก็บส่วนภาษีแทน ทรง ปฏิรูประบบการปกครองส่วนภูมิภาคด้วยการยกเลิกระบบประเทศราช และเจ้าครองนครเปลี่ยนผู้บริหารเป็นสมุหเทศาภิบาลซึ่งเป็นข้าราช การที่ส่งไปจากส่วนกลาง การเปลี่ยนแปลงนี้ส่งผลให้ประเทศสยาม เป็นปึกแผ่นอย่างไม่เคยเป็นมาก่อนนับแต่สถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ การเตรียมพร้อมของพระองค์ต่อการคุกคามโดยประเทศ ตะวันตกนั้น ทรงส่งพระราชโอรสไปศึกษา ณ ดินแดนยุโรป โดยเฉพาะ ในประเทศรัสเซียและปรัสเซีย ทั้งเพื่อเตรียมคนไว้เพื่ออนาคต และเป็น การผูกสัมพันธ์กับราชสำนักยุโรปเพื่อถ่วงดุลอำนาจของอังกฤษและ ฝรั่งเศสที่ในเวลานั้นกำลังล่าอาณานิคมในภูมิภาคเอเซียอยู่
ในปี พ.ศ. 2435 ทรงตั้งกระทรวงเพิ่มขึ้นจาก 4 เป็น 12 กระทรวง บางกระทรวงก็ทรงแต่งตั้งพระอนุชาเป็นเสนาบดี บาง กระทรวงที่ต้องติดต่อสัมพันธ์กับต่างประเทศก็ทรงจ้างผู้เชี่ยวชาญชาว ตะวันตกเป็นเสนาบดี รัชสมัยของพระองค์มีชาวตะวันตกเข้ามารับใช้ ประเทศสยามจำนวนมาก หลายท่านยังคงมีลูกหลานสืบสกุลในเมือง ไทยจนปัจจุบัน ครั้นพระราชโอรสของพระองค์สำเร็จการศึกษาจากยุ โรปแล้วก็ได้เข้ามาเป็นกำลังในการปรับปรุงโครงสร้างการบริหารครั้ง ใหญ่ โดยเฉพาะเป็นกำลังในการสร้างกองทัพบกและกองทัพเรือให้มี ความทันสมัยอย่างตะวันตก

ในสมัยนี้ประเทศสยามต้องเผชิญกับการบีบคั้นโดยชาติ มหาอำนาจอย่างอังกฤษและฝรั่งเศส ทำให้สยามจำต้องเสียดินแดน ให้แก่มหาอำนาจทั้งสองไปเป็นจำนวนมากเพื่อแลกกกับเอกราชของ ประเทศ

เมื่อฝรั่งเศสเข้าครอบครองเวียดนามในปี พ.ศ. 2426 และ อังกฤษยึดครองมลายูและพม่าส่วนบนได้ในปี พ.ศ. 2429 ทำให้สยาม ตกอยู่ในสถานการณ์ลำบาก ต่อมาฝรั่งเศสส่งเรือรบมาปิดล้อมอ่าว ไทย ทำให้ต้องยอมเสียลาวและกัมพูชาให้ฝรั่งเศสไป ขณะเดียวกันก็ ต้องยำดินแดนทางภาคใต้ได้แก่ ปะลิส กลันตัน ตรังกานู ไทรบุรี ดิน แดน ติดพม่าได้แก่ มะริด ทวาย ตะนาวศรี และดินแดนหัวเมืองเงี้ยว ในภาคเหนือให้แก่ประเทศอังกฤษ รวมแล้วสยามต้องเสียดินแดนให้ มหาอำนาจทั้งสองถึง 120,000 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณครึ่ง หนึ่งของประเทศไทยในปัจจุบัน

นอกจากต้องเสียดินแดนแล้วยังต้องจ่ายค่าปรับให้กับ ประเทศเหล่านั้นด้วย จึงต้องใช้เงินใน ถุงแดง ซึ่งรัชกาลที่ 3 เก็บซุก ซ่อนไว้นำมาจ่ายให้มหาอำนาจเหล่านั้น รัชกาลที่ 5 เคยเสด็จประพาสยุโรปถึงสองครั้งในปี พ.ศ. 2440 และ พ.ศ. 2450 เพื่อเป็นการผูกสัมพันธไมตรีกับราชสำนักต่างๆในยุ โรปให้แน่นแฟ้นขึ้น

ในรัชสมัยของพระองค์กล่าวได้ว่าสยามประเทศมีการพัฒนา อย่างก้าวกระโดด แม้จะต้องเสียเงินทองมากมายให้แก่มหาอำนาจ แต่เศรษฐกิจของสยามก็เฟื่องฟูโดยเฉพาะหากเทียบกับประเทศเอเซีย อื่นๆ หลังจากพระองค์เสด็จสวรรคต ปวงชนชาวไทยจึงพร้อมใจกัน ถวายพระสมัญนามแด่พระองค์ว่า พระปิยมหาราช ซึ่งหมายถึง กษัตริย์ทรงเป็นที่รักยิ่ง

รัชกาลที่ 6 เผชิญคลื่นลมแห่งการเปลี่ยนแปลง : เจ้ามหา วชิราวุธ โอรสของรัชกาลที่ 5 ขึ้นครองราชสมบัติต่อมา ทรงพระนามว่า พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. 2453-2468) พระองค์ ทรงจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยอ็อกฟอร์ดในประเทศอังกฤษ นโยบายปฏิรูปแบบตะวันตกส่งผลต่อสังคมไทยอย่างมหาศาล การเปลี่ยนแปลงอย่างแรกในปี พ.ศ. 2456 คือคนไทยต้องมี นามสกุลใช้ ในอดีตคนไทยใช้เพียงชื่อตัวไม่มีนามสกุล ซึ่งพระองค์มี พระราชดำริว่าไม่ทันสมัยอย่างชาวตะวันตก พระองค์จึงทรงพระราช ทานนามสกุลให้แก่ขุนนาและคหบดีกว่าร้อยสกุล รวมถึงการถวาย พระนามต้นแห่งกษัตริย์ในราชวงศ์จักรีว่า รามา ก็เกิดขึ้นในสมัยนี้ พระองค์ยังทรงยกเลิกธรรมเนียมให้ผู้หญิงไทยไว้ผมสั้นทรง ดอกกระมอย่างโบราณ และหันมาไว้ผมยาวแบบฝรั่ง และให้นุ่งผ้าถุง แทนโจงกระเบน ทรงจัดให้มีการศึกษาภาคบังคับทั่วประเทศ มีการตั้ง จุฬาลงกรณ์ขึ้นเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของไทย สงครามโลกครั้งที่ 1 เกิดขึ้นในรัชสมัยของพระองค์ ในช่วง ท้ายของสงครามพระองค์ได้ส่งทหารไทยไปร่วมรบ ณ สมรภูมิยุโรป ด้วย นั่นทำให้ประเทศสยามได้รับการต้อนรับให้เข้าร่วมสันนิบาติชาติ ภายหลังสงคราม และภายหลังจากทหารอาสาชาวไทยกลับจาก สงคราม พระองค์ทรงเปลี่ยนธงชาติจากธงช้างเผือกบนพื้นแดงมาเป็น ธงไตรรงค์แบบปัจจุบันแทน

ในรัชสมัยนี้มีการแต่งตั้งเจ้านายในราชวงศ์และขุนนางใกล้ชิด ให้เป็นคณะรัฐมนตรีร่วมปรึกษาใกล้ชิดกับพระองค์ในการบริหาร ประเทศ และมีการตั้ง กองเสือป่า ขึ้นมาโดยมีพระองค์เองเป็นผู้ บัญชาการ กองเสือป่าที่ตั้งขึ้นมีลักษณะซ้ำซ้อนกับกองทัพ และหลาย ครั้งเสือป่าของพระองค์มีเรื่องมีราวกับทหารในกองทัพ ปมขัดแย้งเริ่ม เกิดขึ้นในหมู่ทหารจำนวนหนึ่ง กระทั่งประทุเป็นการก่อกบฎใน ร.ศ. 130 ที่เรียกว่า กบฏนายสิบ

รัชกาลที่ 6 ทรงโปรดการละครมาก ในราชสำนักสมัยนั้นมีการ เล่นละครกันอยู่เป็นประจำ และไม่ว่าจะเสด็จแปรพระราชฐานไปที่ใด ก็มักจะนำคณะละครของพระองค์โดยเสด็จไปด้วยเสมอ อย่างไรก็ตามพระองค์ทรงได้ชื่อว่าเป็นกษัตริย์ที่โปรดการ สร้างถาวรวัตถุ ได้ทรงสร้างพระตำหนักและพระราชวังไว้ตามจังหวัด ต่างๆเป็นจำนวนมาก อาทิ พระตำหนักดุสินธานี ที่กรุงเทพฯ พระราช วังสนามจันทร์ ที่นครปฐม พระราชวังบ้านปืน และพระราชนิเวศน์ มฤคทายวัน ที่เพชรบุรี เป็นต้น ผลจากการสร้างสิ่งเหล่านี้ทำให้เงินใน ท้องพระคลังที่สะสมมาสมัยรัชกาลที่ 5 ร่อยหรอลง จนเกิดปัญหาการ ขาดดุลบัญชีเดินสะพัดในช่วงปลายรัชกาล

รัชกาลที่ 6 ทรงอภิเษกสมรสเมื่อพระชนม์มายุมากแล้ว พระ ราชธิดาพระองค์เดียวประสูติก่อนวันเสด็จสวรรคตของพระองค์เพียง แค่วันเดียวในปี พ.ศ. 2468 พระอนุชาของพระองค์คือ เจ้าประชาธิปก ทรงขึ้นคอรงราชย์ต่อ

การเปลี่ยนแปลงในรัชกาลที่ 7 : หลังจากเสด็จขึ้นครองราชย์ ทรงพระนามว่า พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว แม้ว่าจะทรง สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนอีตันของอังกฤษ แต่ดูเหมือนรัชกาลที่ 7 จะโปรดการทหารมากกว่า พระองค์ทรงเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจและ การบริหารอย่างมีประสิทธิภาพ รัชกาลที่ 7 ทรงมีความห่วงใยพสก นิกรอย่างมาก ในรัชสมัยของพระองค์ สยามได้นำระบบไปรษณีย์และ โรเลขมาใช้ เริ่มมีการสร้างสนามบินขึ้นที่ทุ่งดอนเมือง น่าเสียดายที่ช่วงเวลานั้นไม่เปิดโอกาสให้พระองค์ได้ทรงทำ ตามแนวคิดในการบริหารประเทศของพระองค์ เพราะทรงครองราชย์ ในสมัยที่เศรษฐกิจทั่วโลกกำลังตกต่ำภายหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 1 ข้าวซึ่งเป็นรายได้หลักของประเทศราคาตกต่ำอย่างมาก ภาวะเงิน เฟ้อที่ระบาทดไปทั่วโลกส่งผลกระทบต่อรัฐบาลของพระองค์อย่างหลีก เลี่ยงไม่ได้ประกอบกับการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดเนื่องจากการใช้จ่าย อย่างฟุ่มเฟือยในรัชกาลก่อนหน้า แม้จะมีการปรับลดคาเงินบาทลง และนำเงินบาทในผูกอัตราแลกเปลี่ยนกับเงินปอนด์ของอังกฤษ แต่ก็ ยังไม่สามารถแก้ปัญหาได้ วิกฤติการณ์เหล่านี้ส่งผลให้พระองค์ทรง เลือกที่จะตัดงบประมาณของราชสำนักลง ลดเงินเดือนข้าราชการ และมีการดุลข้าราชการจำนวนหนึ่ง เหตุการณ์นี้ส่งผลให้ข้าราชการ จำนวนหนึ่งเกิดความไม่พอใจ โดยเฉพาะคนหนุ่มที่เพิ่งสำเร็จการ ศึกษามาจากประเทศตะวันตกโดยเฉพาะในยุโรป

ในเวลานั้นกระแสการเปลี่ยนแปลงไปสู่ระบอบอำนาจใหม่ซึ่ง เรียกว่า ประชาธิปไตย ได้เริ่มขึ้น โดยเริ่มจากปัญญาชนรุ่นใหม่ซึ่ง เป็นสามัญชนที่ได้รับการศึกษามาจากยุโรป โดยเฉพาะจากอังกฤษ และฝรั่งเศส ในขณะที่พวกราชวงศ์มักนิยมไปศึกษาที่รัสเซียซึ่งยังปก ครองในระบบสมบูรณษญาสิทธิราช คนหนุ่มเหล่านั้นได้เห็นระบอบการปกครองแบบใหม่ และชื่น ชมในสิทธิความเท่าเทียมกันของประชาชน ขณะที่รัชกาลที่ 7 ทรง ตระหนักดีว่าประชาธิปไตยควรเริ่มใช้เมื่อประชาชนมีความพร้อมก่อน และพระองค์ทรงเห็นว่าในเวลานั้นคนไทยยังไม่พร้อมสำหรับระบบ ใหม่ พระองค์เคยมีพระราชปรารภว่า คนไทยควรมีจิตสำนึกทางการ เมืองเสียก่อน จึงค่อยนำระบบประชาธิปไตยมาใช้

การรัฐประหาร : ข่าวลือเรื่องการรัฐประหารแพร่สะพัดไปทั่ว ในวันฉลองครบรอบ 150 ปีแห่งราชวงศ์จักรีในปี พ.ศ. 2475 อีกสอง เดือนต่อมาในวันที่ 24 มิถุนายน ก็มีการรัฐประหารเกิดขึ้น และเป็น การสิ้นสุการปกครองในระบบสมบูรณาญาสิทธิราช การรัฐประหารเกิดขึ้นโดยกลุ่มบุคคลซึ่งใช้ชื่อว่า คณะ ราษฎร์ อันประกอบด้วยทั้งฝ่ายทหารและพลเรือน แกนนำของกลุ่ม คณะราษฎร์ล้วนเป็นคนหนุ่มที่สำเร็จการศึกษามาจากยุโรป โดย เฉพาะกลุ่มที่เคยไปศึกษาอยู่ในประเทศฝรั่งเศส แกนนำฝ่ายพลเรือน คือ นายปรีดี พนมยงค์ นักกฎหมายหนุ่มจากฝรั่งเศส ส่วนฝ่ายทหารมี พันเอกหลวงพิบูลสงคราม (แปลก ขีตสังคะ) นายทหารปืนใหญ่จาก ฝรั่งเศสเช่นกันเป็นผู้นำ คณะผู้ก่อการได้เชิญ พลเอกพระยา พหลพล พยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) นายทหารปืนใหญ่ผู้สำเร็จการศึกษามา จากปรัสเซียมาเป็นหัวหน้าคณะรัฐประหาร เนื่องจากเป็นนายทหาร ชั้นผู้ใหญ่ในกองทัพขณะนั้น

เช้าวันที่ 24 มิถุนายน ทหารในฝ่ายคณะราษฎร์ได้นำรถถัง และกำลังทหารจำนวนหนึ่งบุกยึดสถานที่สำคัญๆ ในกรุงเทพฯ ไว้ได้ หมด รวมทั้งทำการควบคุมตัวเจ้านายราชวงศ์ชั้นสูงเอาไว้เป็นตัว ประกันด้วย ขณะนั้นพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 7 กำลังเสด็จแปรพระราช ฐานอยู่ที่พระราชวังไกลกังวล

แม้ฝ่ายคณะราษฎร์จะมีกำลังน้อยกว่าฝ่ายรัฐบาลมาก แต่ เพื่อหลีกเลี่ยงการนองเลือด รัชกาลที่ 7 ทรงยินดีสละพระราชอำนาจ ของพระองค์ ยอมรับการเป็นกษัตริย์ซึ่งอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญใน ระบอบประชาธิปไตย


ทีมา http://www.baanjomyut.com/library/history_thai/rattanakhosin.html

โบตั๋นกลีบสุดท้าย


บทประพันธ์ กานติมา เรื่องย่อ นวนิยายเรื่อง "โบตั๋นกลีบสุดท้าย" ของ สำเภาทอง ได้รับรางวัลนวนิยายยอดเยี่ยมประจำปี ไม่มีใครรู้ว่าสำเภาทองเป็นใคร เพราะทุกครั้งเขาจะให้ ดนัย เด็กวัดที่ได้รับความช่วยเหลือจากครอบครัว อาเชง เป็นคนนำต้นฉบับและรับเงินให้ทุกครั้ง สำเภาทองแท้จริงคือ ธีรเดช ( อาจู ) ลูกชายคนสุดท้ายของอาเชงกับ เหมยหลิง สองสามีภรรยาที่อพยพจากเมืองจีน มาขายข้าวมันไก่ในเมืองไทย จนส่งเสียลูกชายทั้ง 3 คนคือ ธีรชัย ( อาโจ ), ธีรชาติ ( อาจิว ) และธีรเดช ( อาจู ) จนจบปริญญา อาเชงไม่ค่อยชอบอาจูมากนัก เพราะตอนเหมยหลิงท้องอาจู ครอบครัวเขาลำบากถึงกับอพยพหนีมาเมืองไทย อาจูจึงเป็นลูกชัง ขณะที่อาโจและอาจิวเป็นลูกรักที่ได้ทุกอย่างจากอาเชงตลอดเวลา และมักเรียกอาจูว่า ไอ้ตัวซวย ทำให้อาจูกดดันกับชีวิตเสมอมา อาโจเข้ามาทำงานที่บริษัทขายเครื่องใช้ไฟฟ้า ส่วนอาจิวเข้าทำงานที่ธนาคาร โดยไม่บอกให้อาเชงรู้เพราะกลัวถูกแบ่งเงินเดือน อาจูระบายความในใจลงในบันทึกตามคำแนะนำของดนัย และให้อาจูเขียนเรื่องสั้นส่งนิตยสาร "ระเบียงสยาม" งานเขียนของอาจูเป็นที่ชื่นชอบของแฟนๆ เขาจึงกลายเป็นนักเขียนมืออาชีพในนามปากกา "สำเภาทอง" โดยปิดบังอาเชงและเหมยหลิงเอาไว้ อาโจแต่งงานกับ จรัสศรี ลูกข้าราชการใหญ่ สร้างความช้ำใจให้อาเชงไม่น้อยแต่ไม่เคยบอกใคร อาจูรู้ว่าพ่อผิดหวังมากแต่ไม่สามารถปลอบใจได้ อาเชงมักใช้เวลาว่างอ่านนิตยสารระเบียงสยาม เพราะติดใจการเขียนนวนิยายของสำเภาทองมาก อาจูได้รับการทาบทามให้เขียนเรื่องราวเกี่ยวกับงิ้ว เขาไม่มีข้อมูลจึงไปสมัครที่คณะงิ้วฉางชิน ที่เป็นแหล่งข้อมูลแต่เกือบไม่ได้ทำงานในคณะเพราะ ตันหยง ลูกสาวคนเล็กของ อาฉาง และอาซิน ไม่เชื่อว่าอาจูด้อยการศึกษาและตกงาน อาจูเห็นว่าครอบครัวอาฉางมีแต่ลูกสาว แต่สามารถให้ความรักความอบอุ่นแกลูกๆ ได้ดี แตกต่างจากครอบครัวของเขาที่มีแต่ลูกชาย แต่กลับได้รับความรักไม่เท่ากัน อาจูจึงเอาเรื่องราวชีวิตของอาฉางและข้อมูลเกี่ยวกับงิ้วที่ได้จาก อาซุ่น คนสอนงิ้วของคณะเป็นผู้ให้ข้อมูล ดาหลา ลูกสาวคนโตของอาฉางแต่งงานกับ พงษ์เลิศ ลูกชายของ เจ้าสัวกำจร กับมาดามเหลียว จนมีลูก 2 คนคือ หยก กับหงส์ ปาหนัน ลูกสาวคนกลางเป็นนางเอกงิ้วที่ เสี่ยเดชา เจ้าของร้านทองจอมอันธพาล, อดิเทพ ผู้กำกับละครเวทีชื่อดัง และ แอนดี้ เพลย์บอยหนุ่มนักเรียนนอกรุมจีบ ตันหยงเป็นลูกสาวคนเล็กที่อยากเปิดอู่ซ่อมรถ มีนิสัยห้าว ชอบโต้เถียงกับอาฉางเป็นประจำ จนเธอคิดว่าพ่อไม่รักเหมือนลูกคนอื่น อาหลง เด็กกำพร้าที่อาฉางและอาซินเลี้ยงไว้เพราะอยากได้ลูกชาย เขาทำทุกอย่างในคณะที่เป็นการตอบแทนบุญคุณ และแอบรักปาหนัน ข้อมูลทั้งหมดอาจูได้ฟังจากอาซุ่น จึงตั้งชื่อนวนิยายเรื่องใหม่ว่า "โบตั๋นกลีบสุดท้าย" อาเชงทำงานหนักเพราะหวังเก็บเงินให้ลูกรักทั้ง 2 ได้สบาย จนต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลด้วยโรคไต เขาไม่รู้เลยว่าเงินทุกบาทที่จ่ายไปนั้นเป็นเงินที่อาจูหามาจากงานเขียนหนังสือ อาเชงเชื่อว่าอาโจกับอาจิวต้องไปสอนพิเศษเพื่อหาเงินมารักษาตน อาจูกับเหมยหลิงปิดปากเงียบไม่ยอมบอกให้อาเชงรู้ เพราะกลัวว่าอาเชงจะไม่ยอมรักษาตัว ดนัยเห็นอาเชงอคติกับอาจูตลอดเวลา จึงเอานิตยสารระเบียบสยามมาให้อ่าน อาเชงได้อ่านเรื่อง "โบตั๋นกลีบสุดท้าย" เรื่องราวของครอบครัวจีนที่มีลูกๆ 3 คนมาอ่าน อาเชงอ่านแล้วอินไปกับเรื่องราว อาเชงรู้ว่าอาจูทำงานในสำนักพิมพ์นี้ จึงฝากอาจูไปชมสำเภาทอง อาจูตื้นตันใจมากที่พ่อกล่าวชมเขาเป็นครั้งแรก แม้พ่อจะไม่รู้ว่าเขาคือสำเภาทองก็ตามที งานแสดงงิ้วเริ่มซบเซา อาฉางไม่อยากให้ศิลปะงิ้วหายไป จึงปรับปรุงการแสดงครั้งยิ่งใหญ่ โดยกู้เงินจากเสี่ยเดชามาใช้ เสี่ยเดชาเป็นคนเจ้าเล่ห์และชอบปาหนันอยู่ เขาจึงยื่นข้อเสนอว่าหากอาฉางหาเงินมาใช้หนี้ไม่ทันกำหนด จะต้องยกปาหนันให้ตนอาฉางยอมตกลง และพยายามทำให้การแสดงมีคนเข้าชมมากๆ เมื่อเสี่ยเดชาเห็นว่าอาฉางจะหาเงินมาใช้หนี้ตนได้ จึงส่งลูกน้องมากลั่นแกล้งจนทำให้โรงงิ้วไฟไหม้ การแสดงต้องยุติลง อาจูยื่นมือเข้ามาช่วยด้วยการให้ไปแสดงที่โรงหนัง และเขาเป็นคนช่วยเขียนบทการแสดง ทำให้ครอบครัวอาฉางพ้นวิกฤตินี้ไปได้ ตันหยงทีแรกตั้งตนอคติกับอาจู คอยหาเรื่องกลั่นแกล้ง และคิดจะกระชากหน้ากากเขาตลอดเวลา แต่เมื่อเห็นความดีของอาจูที่คอยช่วยเหลือครอบครัว ความรู้สึกเธอจึงเปลี่ยนไปและโอนเอนมาทางแอบชอบ ขณะที่ความรักของทั้งสองกำลังก่อตัวขึ้น ความลับที่อาจูปิดบังไว้มาตลอดก็ถูกเปิดโปงขึ้น เมื่อตันหยงจับได้ว่าอาจูเป็นนักเขียนนวนิยายในนามสำเภาทอง ทุกคนผิดหวังในตัวเขามากจึงไล่อาจูออกไปจากคณะ อาจูแอบไปดูคณะงิ้วซ้อมการแสดงที่โรงหนัง ช่วงนั้นคณะกำลังมีปัญหาเพราะตันหยงหายตัวไป อาฉางก็ป่วยหนักจนเข้าโรงพยาบาล อาจูเห็นว่าพ่อลูกทะเลาะกันจึงหาเหตุให้ตันหยงไปเยี่ยมพ่อที่โรงพยาบาล จนทำให้พ่อลูกสามารถปรับความเข้าใจกันได้ ในวันเกิดอาหลงเขานัดปาหนันไปกินข้าว แต่ปาหนันผิดนัดปล่อยให้อาหลงนั่งอยู่ที่ร้านเพียงลำพัง จึงถูกเสี่ยเดชาและลูกน้องรุมทำร้ายจนขาหัก ไม่สามารถแสดงงิ้วได้อีก อาฉางจึงต้องตามตัวอาจูมาแสดงแทน ดาหลาจับได้ว่าพงษ์เลิศเป็นเกย์จึงขอหย่ากับเขา โดยนำลูกทั้งสองไปเลี้ยงเอง เจ้าสัวกำจรผิดหวังในตัวลูกชายมาก จึงไล่ออกจากบ้าน พงษ์เลิศตัดสินใจไปใช้ชีวิตอยู่ที่อเมริกากับคู่ขา อาเชงรู้ความจริงว่าอาจูซื้อบ้านสวนเอาไว้ แทนที่จะดีใจกลับโกรธจัดเพราะเข้าใจว่าลูกชายไปทำงานผิดกฎหมาย จนดนัยต้องโพล่งความจริงออกมาว่า อาจูใช้เงินจากงานเขียนนวนิยายซื้อบ้านหลังนั้นไว้ และเหมยหลิงยังบอกอีกว่าอาจูเป็นคนออกค่ารักษาตัวให้เขา ไม่ใช่อาจิวและอาโจอย่างที่อาเชงเข้าใจ อาเชงฟังแล้วสะท้อนใจอย่างแรง เมื่อรู้ว่าลูกชังไม่เคยทอดทิ้งเขาเลย ผิดกับลูกรักทั้งสองที่ไม่เคยมาเหลียวแล อาเชงตัดสินใจหนีออกจากบ้าน แต่ก็แอบไปดูการแสดงงิ้วของอาจูที่โรงหนัง และในที่สุดอาจูกับอาเชงก็ได้ปรับความเข้าใจกัน ปาหนันรู้ว่าอาจูมีใจให้ตันหยง จึงร่วมมือกับอาหลงหาทางให้คนทั้งสองได้สารภาพรักกัน อาจูถือโอกาสบอกรักตันหยงขณะที่แสดงงิ้วบนเวที สร้างความหวั่นไหวให้เธอไม่น้อย อาจิวถูกจับได้ว่ายักยอกเงินธนาคารจึงถูกจับเข้าคุก ให้อาโจมาประกันตัวแต่อาโจปฏิเสธเพราะกลัวพาดพิงมาถึงตน อาจิวโกรธพี่ชายมากจึงเขียนจดหมายไปบอกจรัสศรีว่าอาโจมีเมียน้อย จรัสศรีพาลูกน้องไปยิงอาโจจนกลายเป็นอัมพาต อาเชงสงสารลูกชายจับใจจึงตัวมาดูแลที่บ้าน ตันหยงเรียนจบวิชาช่างมาแล้ว อาฉางจึงให้ทุนเปิดอู่ซ่อมรถตามความฝัน และให้ดูแลคิวการแสดงของคณะงิ้วฉางซิน ที่กำลังก้าวหน้าไปด้วยดี "โบตั๋นกลีบสุดท้าย" ได้รับรางวัลงานเขียนนวนิยายดีเด่นประจำปี อาจูขึ้นไปรับรางวัลนี้ด้วยความภาคภูมิใจ ไม่นานนักเขาก็เริ่มงานเขียนชิ้นใหม่ในเรื่อง "คือวันที่ฉันรอ" โดยสำเภาทอง และมีตันหยงคอยให้กำลังใจอยู่ข้างกาย


แนวละคร ดราม่า บทประพันธ์ กานติมา บทโทรทัศน์ เอกลิขิต กำกับการแสดง ชนะ คราประยูร ออกอากาศทุกวัน จันทร์ - อังคาร เวลา 20.30 น. ทางไทยทีวีสีช่อง 3 ในปี พ.ศ.2551 รายชื่อนักแสดง อธิชาติ ชุมนานนท์ รับบท ธีรเดช ( อาจู ) ทักษอร ภักดิ์สุขเจริญ รับบท ตันหยง เกียรติกมล ล่าทา รับบท อาหลง เฌอมาลย์ บุญยศักดิ์ รับบท ปาหนัน วริษฐ์ ทิพโกมุท รับบท พงษ์เลิศ เพชรลดา เทียมเพชร รับบท ดาหลา นิรุตติ์ ศิริจรรยา รับบท อาเชง เศรษฐา ศิระฉายา รับบท อาฉาง ทาริกา ธิดาทิพย์ รับบท อาซิน
ทีมา http://movie.sanook.com/21468/%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%84%E0%B8%A3-%E0%B9%82%E0%B8%9A%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B9%8B%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%B5%E0%B8%9A%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%94%E0%B8%97%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A2/

พรายปรารถนา


บทประพันธ์ กิ่งฉัตร เรื่องย่อ ปมปริศนาการตายอย่างลึกลับของ จุลจันทร์ หญิงสาวสวย เรียบร้อยอ่อนหวาน และยึดมั่นในความรักแม้ว่าความตายก็ไม่สามารถพรากเธอไปจากแฟนหนุ่ม นิมมาน ชายหนุ่มที่มีบุคลิกเงียบขรึม ค่อนข้างใจร้อน ลูกชายคนเดียวของท่านนายพลนครที่ไม่ค่อยชอบจุลจันทร์มากนัก จนทำให้วิญญาณรักของเธอยังวนเวียนอยู่ในที่เกิดเหตุไม่ไปไหน หลังจากการตายของจุลจันทร์ เรื่องราวทั้งหมดก็ถูกปิดเงียบไม่มีใครพูดถึง จนกิรณา AE สาวประจำบริษัทโฆษณาของเด่นภูมิ ได้ย้ายเข้ามาพักในห้องที่จุลจันทร์ถูกฆ่าตาย ทุกๆ คืนกิรณาก็พบกับความฝันแปลกๆ ที่เห็นภรรยาสาวท้องอ่อนๆ ที่เฝ้าดูแลกันด้วยความรักภายในห้องของเธอ รวมถึงภาพการฆาตกรรมที่ไม่เห็นหน้าของผู้ร้าย จนวันหนึ่งเธอก็ได้มาพบกับนิมมานเพื่อนของเด่นภูมิ ทำให้เธอรู้ว่านิมมานเป็นผู้ชายคนเดียวกับคนที่เธอเห็นในฝัน และเธอก็รู้ว่าความฝันที่เธอได้เห็นนั้นไม่ใช่เรื่องธรรมดา มีบางอย่างที่อยากจะให้เธอช่วย กิรณาเลยเล่าเรื่องราวทั้งหมดให้ พีรยศ สาวประเภทสองเพื่อนสนิทในที่ทำงานของเธอฟัง ทั้งสองพยายามสืบค้นเรื่องราวการตายของจุลจันทร์ แต่ก็ถูกขัดขวางจากเด่นภูมิ และวิรตี ภรรยาสาวของเด่นภูมิที่แอบหลงรักนิมมาอยู่ วิญญาณของจุลจันทร์มาขอให้กิรณาพานิมมานมาหาเธอที่ห้องนี้อีกครั้ง ยิ่งสืบค้นเท่าไหร่ก็ทำให้กิรณาใกล้ชิดกับนิมมานสนิทกันมากขึ้นจนเกิดเป็นความรัก ทำให้วิรตีไม่พอใจขู่ว่าจะทำร้ายเธอถ้าหากเธอมายุ่งกับนิมมาน รวมทั้งวิญญาณของผีสาวที่คิดว่ากิรณาจะมาแย่งคนรักไป เลยเปลี่ยนมาเป็นความริษยาต่อกิรณาแทน ทำร้ายกิรณาจนเข้าโรงพยาบาล พอนิมมานรู้เรื่องทั้งหมดก็รีบไปพบวิญญาณของจุลจันทร์ที่ห้องนั้นอีกครั้ง นิมมานอธิบายความรู้สึกทั้งหมดว่าเขาไม่เคยหมดรักเธอเลย แต่ทั้งเขาและเธอต่างอยู่กันคนละโลก จุลจันทร์เข้าใจและหายตัวไปจากห้องนั้นไม่ปรากฏร่างให้เห็นอีกเลย นิมมานตัดสินใจที่จะรื้อฟื้นคดีฆาตกรรมของจุลจันทร์ขึ้นมาอีกครั้ง แต่ก็ถูกขัดขวางจากหลายๆ คนทั้ง เด่นภูมิ, วิรตี และ เกริก ทหารคนสนิทของพ่อที่เกิดและเติบโตมาพร้อมๆ กับนิมมาน ระหว่างที่นิมมานพากิรณามาเก็บข้าวของในห้องพักเพื่อหาที่อยู่ใหม่ แต่แล้วบุคคลลึกลับก็บุกเข้ามาในห้องแล้วทำร้ายนิมมานจนสลบก่อนจะหันไปรัดคอกิรณา บุคคลลึกลับคนนั้นคือ...เกริก เขาพยายามที่จะฆ่าปิดปากกิรณาและนิมมานเพราะเขาเองคือฆาตกรตัวจริงที่ฆ่าจุลจันทร์ ในวันที่เกิดเหตุท่านนายพลสั่งให้เกริก ไปสั่งสอนจุลจันทร์ว่าไม่ให้ยุ่งกับนิมมาน แต่เกริกกลับอิจฉาริษยาทั้งหน้าที่การงาน และความรักของนิมมานเลยจัดการฆ่ารัดคอจุลจันทร์ และลวงให้ทุกคนคิดว่าเป็นฝีมือของนิมมาน ส่วนเด่นภูมิจริงๆแล้วเป็นเกย์แอบหลงรักนิมมานอยู่ ที่ต้องแต่งงานกับวิรตีเพราะว่าในวันที่เกิดเหตุ เด่นภูมิปลอมตัวเป็นผู้หญิงเพื่อจะเข้าไปแกล้งบอกกับจุลจันทร์ว่าอย่ามายุ่งกับนิมมานแต่เห็นจุลจันทร์นอนตายอยู่ เลยตกใจรีบไปบอกวิรตี เวลานั้นวิรตีคิดแต่จะช่วยเด่นภูมิจึงให้เด่นภูมิแต่งงานกับเธอเพื่อกลบเกลื่อน ในขณะที่กิรณากำลังจะหมดลมหายใจ วิญญาณของจุลจันทร์ก็ปรากฏตัวขึ้นมาช่วยกิรณา และแก้แค้นเกริกได้ในที่สุด หลังจากทุกอย่างคลี่คลายกิรณาและนิมมานกลับไปที่ห้องพักนั้นอีกครั้ง กลิ่นหอมของดอกจันทร์กระพ้ออบอวล วิญญาณของจุลจันทร์มาร่ำลากิรณา และฝากฝังให้กิรณามีความรักที่มั่นคงกับนิมมาน กิรณารับปากว่าจะรักและดูแลนิมมานอย่างดีสมกับความปรารถนาของจุลจันทร์



แนวละคร เขย่าขวัญ ดราม่า บทประพันธ์ กิ่งฉัตร บทโทรทัศน์ ศาสวัต กำกับการแสดง ฉัตรชัย นาคสุริยะ ออกอากาศทุกวัน จันทร์-อังคาร เวลา 20.30 น. ทางไทยทีวีช่อง 3 ในปี พ.ศ.2547 รายชื่อนักแสดง ธนากร โปษยานนท์ รับบท นิมมาน ธัญญาเรศ รามนรงค์ รับบท จุลจันทร์ น้ำทิพย์ จงรัชตวิบูลย์ รับบท กิรณา เมธี อมรวุฒิ รับบท เด่นภูมิ พรนภา เทพทินกร รับบท วิรตี สุรพันธ์ ชาวปากน้ำ รับบท เกริก ฝันเด่น จรรยาธนากร รับบท พีรยศ



ทีมา http://movie.sanook.com/21306/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%96%E0%B8%99%E0%B8%B2/

นวนิยายเรื่องในฝัน

ในฝัน


บทประพันธ์ โรสลาเรน เรื่องย่อ เจ้าชายพิรียพงศ์ รัชทายาทแห่งแคว้นพรหมมินทร์ เสด็จไปทรงศึกษาวิชาสำหรับกษัตริย์กับ เจ้าชายโอริสสาวัฒนา หรืออีกพระนามหนึ่งว่า เจ้าชายเสนาบดี ณ แคว้นกุสารัฐ ที่นั่นเจ้าชายพิรียพงศ์ทรงทราบว่า เจ้าหลวงกุสารัฐ ซึ่งทรงพระชราภาพ มีพระธิดาองค์เดียวซึ่งทรงมีพระสิริโฉมงดงามมากคือ เจ้าหญิงรัชทายาท ผู้ซึ่งจะขึ้นครองบัลลังก์ต่อจากพระราชบิดา เจ้าหญิงเป็นที่หมายปองของเจ้าชายที่เป็นพระญาติพระวงศ์ โดยเฉพาะ เจ้าชายชัยฉัตร ซึ่งจบการทหาร และเจ้าชายบุษกร ผู้ซึ่งศึกษา ณ ประเทศฝรั่งเศส แต่เจ้าหญิงรัชทายาทไม่เคยมีพระเนตรประทานใครอื่นเลย นอกจากเจ้าโอริสสาวัฒนาแต่พระองค์เดียว แม้กระนั้นเจ้าชายโอริสสาวัฒนาก็ไม่เคยแสดงความสนพระทัยในองค์เจ้าหญิงรัชทายาทแม้แต่น้อย เพราะพระองค์สนพระทัยอยู่แต่ภาระและหน้าที่ในฐานะเสนาบดีแห่งสมาพันธรัฐ ผู้อยู่เบื้องหลังการปกครองแคว้นกุสารัฐ ซึ่งกำลังระส่ำระสายด้วยการแก่งแย่งอำนาจ โดยฝ่ายของเจ้าชายชัยฉัตรและเจ้าชายบุษกร รวมทั้งขุนนางผู้ใหญ่ที่คิดกบฏ รวมถึงเทวีศุลีพร ที่ราชสำนักกุสารัฐนี่เอง เจ้าชายพิรียพงศ์ทรงเป็นทั้งลูกศิษย์และราชเลขานุการส่วนพระองค์ในเจ้าชายโอริสสาวัฒนา ทำให้เจ้าชายพิรียพงศ์ได้ทรงเรียนรู้ถึงพระปรีชาสามารถอันล้ำลึกในการปกครอง ทั้งทางด้านการเมือง การทหาร และการทูตในองค์เจ้าชายโอริสสาวัฒนา ทั้งยังทรงเห็นว่าทรงอุทิศพระวรกายและพระหฤทัยให้แก่หน้าที่เจ้าชายเสนาบดีอย่างเต็มพระกำลัง ทรงเปี่ยมได้ด้วยคุณธรรมและสถิตอยู่ในความยุติธรรม ทำให้ทรงเป็นที่รักและเคารพยำเกรงอย่างยิ่ง ต่อทุกคนที่ประพฤติอยู่ในทำนองครองธรรม และเป็นที่เกลียดชังแก่ทุกคนที่ไม่หวังดีต่อราชบัลลังก์ โดยเฉพาะเจ้าชายบุษกรผู้ทรงวางแผนล้มราชบัลลังก์ร่วมกับ นายพลตรีสุรีเทพ และเทวีศุลีพร สาวผู้มักใหญ่ใฝ่สูง ทำให้เจ้าชายโอริสสาวัฒนาต้องวางแผนรักษาราชบัลลังก์อย่างแยบยล ในช่วงเวลานี้นี่เองที่เจ้าชายพิรียพงศ์ได้ทรงทราบว่า เจ้าชายโอริสสาวัฒนาทรงเป็นสหายวัยเยาว์กับ เจ้าหญิงพรรณพิลาศ พระพี่นางของพระองค์ ทั้งคู่ได้ทรงเขียนจดหมายโต้ตอบสื่อสารกันเป็นนิตย์ไม่ขาดระยะ และมักทรงปรึกษาหารือส่วนพระองค์และราชการอยู่เสมอ จนมิตรภาพระหว่างทั้งสองพระองค์กลายเป็นความรักซึ่งฝังรากลึกในพระราชหฤทัยของสองพระองค์ เจ้าหญิงรัชทายาทก็ได้เสด็จมาปรึกษากับเจ้าชายพิรียพงศ์หลายครั้ง
ในความที่ทรงน้อยพระทัยในเจ้าชายโอริสสาฒนา เลยทำให้เจ้าชายพิรียพงศ์ทรงสงสารและเห็นพระทัยเจ้าหญิงรัชทายาท จนเกิดเป็นความรักโดยไม่รู้พระองค์ เมื่อมีการประชุมสภาเพื่อเลือกราชทูตไปทำสันถวไมตรีกับประเทศยุโรป เจ้าชายโอริสสาวัฒนาทรงแสดงท่าทีอย่างชัดเจนในการสนับสนุนเจ้าชายชัยฉัตร เพราะทรงมีคุณลักษณะเหมาะสมกว่าเจ้าชายองค์ใด จนในที่ประชุมเห็นชอบอย่างเอกฉันท์ ทำให้เจ้าชายบุษกรผู้หวังในตำแหน่งนั้นไม่พอใจเป็นอย่างยิ่ง ส่วนเจ้าชายชัยฉัตรจึงหันมาสวามิภักดิ์ต่อเจ้าชายโอริสสาวัฒนาอย่างไม่แคลงพระทัยอีกต่อไป สร้างความแค้นใจต่อเจ้าชายบุษกรมากยิ่งขึ้น ในระหว่างนั้นเองที่แคว้นพรหมมินทร์ เจ้าชายโสภณา แห่งแคว้นสาละวัณได้เสด็จประพาสแคว้นพรหมมินทร์ เจ้าหญิงพรรณพิลาศได้ทรงอักษรมาถวายเจ้าชายโอริสสาวัฒนาว่า เจ้าชายโสภณาทรงเป็นเจ้าชายรูปงาม แถมยังโปรดปรานศิลปะเช่นเดียวกับเจ้าหญิง และเจ้าชายยังสนพระทัยเจ้าหญิงอย่างสังเกตได้ชัด เหตุการณ์นี้จึงทำให้เจ้าชายโอริสสาวัฒนาทรงหนักพระทัย ด้วยเกรงว่าความรักจะหลุดลอย ต่อมาเจ้าหลวงกุสารัฐก็ทรงประชวร มีรับสั่งให้เจ้าชายโอริสสาวัฒนาอภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงรัชทายาท แต่เจ้าชายโอริสสาวัฒนาทรงปฏิเสธและแสดงความเห็นว่า เจ้าชายพิรียพงศ์มีคุณสมบัตินานัปการคู่ควรกับเจ้าหญิงรัชทายาท ซึ่งเจ้าหลวงกุสารัฐก็ต้องยินยอมตามความประสงค์นั้น สร้างความเสียพระทัยต่อเจ้าหญิงรัชทายาทเป็นอย่างยิ่ง เจ้าชายโอริสสาวัฒนาก็ทรงทูลลาเสด็จไปยังแคว้นพรหมมินทร์เป็นการด่วน เพื่อกีดกันเจ้าหญิงพรรณพิลาสกับเจ้าชายโสภณา เจ้าชายพิรียพงศ์จึงมีโอกาสใกล้ชิดเจ้าหญิงรัชทายาทและเริ่มรู้ใจกัน ที่แคว้นพรหมมินทร์ ท่ามกลางงานเลี้ยงอำลาเจ้าชายโสภณา ข้าหลวงมาทูลเจ้าหญิงพรรณพิลาศว่ามีผู้มาขอเฝ้า ในคืนนั้นเองพระสหายที่รักกันยิ่งก็ได้พบกัน หลังจากทรงจากกันมานานถึงสิบกว่าปี ทั้งสองพระองค์รำลึกถึงวันวานจนสัมพันธภาพลึกซึ้งและหวานชื่นเกินกว่าคำบรรยาย รุ่งขึ้นก่อนเจ้าชายโสภณาจะเสด็จกลับทรงขอเจ้าหญิงพรรณพิลาศทรงเป็นราชินีแห่งแคว้นสาละวัน แต่เจ้าหญิงทรงปฏิเสธได้อย่างชาญฉลาด เจ้าชายโสภณาเสด็จจากไปด้วยความเสียพระทัย ที่แคว้นพรหมมินทร์เจ้าชายโอริสสาวัฒนาได้เข้าเฝ้าเจ้าหลวงพรหมมินทร์ ทูลข่าวเรื่องงานวิวาห์ของเจ้าชายพิรียพงศ์ และทูลขออภิเษกกับเจ้าหญิงพรรณพิลาศ ซึ่งเจ้าหลวงทรงตอบรับด้วยดี เมื่อเจ้าชายโอริสสาวัฒนาเสด็จกลับกุสารัฐ มรุต ราชองครักษ์ก็ทูลว่ามีการก่อกบฏซ่องสุมกันอยู่ในชนบท เจ้าชายโอริสสาวัฒนาจึงขอเข้าเฝ้าเจ้าหลวงกุสารัฐขอพระราชทานอำนาจให้เจ้าหญิงรัชทายาททรงประกาศกฎอัยการศึกปราบปรามกบฏ ซึ่งคาดว่าเป็นเจ้าชายบุษกรและพรรคพวก แล้วเจ้าชายโอริสสาวัฒนา, เจ้าชายพิรียพงศ์ และมรุ็ออกเดินทางไปยังหมู่บ้านที่มีสายรายงานว่าเป็นแหล่งซ่องสุม มีการต่อสู้เกิดขึ้นจนมรุตได้รับบาดเจ็บ แต่เจ้าชายบุษกรและพรรคพวกหนีไปได้ และตั้งพระทัยที่จะอาฆาตเจ้าชายโอริสสาวัฒนาถึงชีวิต เจ้าชายชัยฉัตรซึ่งเสด็จยุโรปทรงทราบเรื่องกบฏ ก็รีบกลับกุสารัฐและพร้อมที่จะเป็นกำลังปราบปรามกบฏในครั้งนี้ ในฐานะที่ทรงเป็นชายชาติทหาร แล้ววันอภิเษกของเจ้าหญิงรัชทายาทและเจ้าชายพิรียพงศ์ก็มาถึง เจ้าหลวงแห่งพรหมมินทร์และพระมเหสีเสด็จมาร่วมงาน เพื่อทรงปรึกษาเรื่องวันอภิเษกของเจ้าชายโอริสสาวัฒนาและเจ้าหญิงพรรณพิลาศต่อสภาสมาพันธรัฐ ซึ่งทุกฝ่ายก็เห็นชอบให้จัดงานขึ้นต่อจากงานอภิเษกของเจ้าหญิงรัชทายาทกับเจ้าชายพิรียพงศ์ งานอภิเษกของเจ้าหญิงรัชทายาทและเจ้าชายพิรียพงศ์ในครั้งนี้จัดให้มีการเฉลิมฉลองอย่างมโหฬารรวมทั้งงานซ้อมรบ เจ้าหญิงรัชทายาททรงทำใจเรียนรู้ที่จะรักเจ้าชายพิรียพงศ์ และเจ้าชายก็ทรงรักเจ้าหญิงแบบพระชายาแทนที่พระองค์จะทรงรักแบบพระสหายเช่นเดิม ในงานซ้อมรบที่จัดขึ้นในวันอภิเษกนั่นเองขณะที่เจ้าชายโอริสสาวัฒนาทรงม้าไปเก็บดอกหยาดฝน อันเป็นดอกไม้ประจำพระองค์เจ้าหญิงพรรณพิลาศ เจ้าชายบุษกรก็ใช้พระแสงปืนสังหารเจ้าชายโอริสสาวัฒนาสิ้นพระชนม์ลงต่อหน้าเจ้าชายพิรียพงศ์และมรุต เจ้าชายชัยฉัตรตามหาตัวคนร้ายอย่างบ้าคลั่ง จนในที่สุดก็สังหารเจ้าชายบุษกรอย่างเหี้ยมโหดสมกับบาปกรรมที่ทรงก่อไว้ เจ้าหลวงพรหมมินทร์เสด็จกลับแคว้นและนำข่าวร้ายมาบอกแก่พระธิดา เจ้าหญิงพรรณพิลาศทรงโศกเศร้าอาดูรสุดจะพรรณนา แต่แล้วก็ทรงพบว่า สิ่งต่างๆ ที่เราเห็นอยู่นั้นไม่คงทนแน่นอน สิ่งที่เราประสบอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน พอลืมตาขึ้นก็หายไปหมด เหมือนเป็นในฝันนั่นเอง


แนวละคร ดราม่า บทประพันธ์ โรสลาเรน บทโทรทัศน์ หม่อมหลวงพันธุ์เทวนพ เทวกุล กำกับการแสดง หม่อมหลวงพันธุ์เทวนพ เทวกุล ออกอากาศทุกวัน เสาร์-อาทิตย์ เวลา 21.00 น. ทางโมเดิร์นไนน์ ปี พ.ศ.2548 รายชื่อนักแสดง ธีรภัทร์ สัจจกุล รับบท เจ้าชายโอริสสาวัฒนา ซาร่า มาลากุล เลน รับบท เจ้าหญิงพรรณพิลาศ อนันดา เอเวอริ่งแฮม รับบท เจ้าชายพิรียพงศ์ เฌอมาลย์ บุญยศักดิ์ รับบท เจ้าหญิงรัชทายาท เพ็ญเพ็ชร เพ็ญกุล รับบท เจ้าชายโสภณา โอลิเวอร์ พูพาร์ต รับบท เจ้าชายชัยฉัตร อรรถชัย อนันตเมฆ รับบท เจ้าชายบุษกร เบญจสิริ วัฒนา รับบท เทวีศุลีพร ชลิต เฟื่องอารมณ์ รับบท เจ้าหลวงกุสารัฐ
ทีมา http://movie.sanook.com/21818/%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%9D%E0%B8%B1%E0%B8%99/